มรดกโลก

มรดกโลก (อังกฤษ: World Heritage Site; ฝรั่งเศส: Patrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา ทะเลสาบ ทะเลทราย อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต
ใน พ.ศ. 2553 มีมรดกโลกที่ขึ้นทะเบียนแล้วทั้งสิ้น 911 แห่ง แบ่งออกเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 704 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 180 แห่ง และมรดกโลกแบบผสม 27 แห่ง ตั้งอยู่ใน 151 ประโดยอิตาลีเป็นประเทศที่มีจำนวนมรดกโลกมากที่สุด คือ 44 แห่ง แม้ว่ายูเนสโกจะอ้างอิงถึงมรดกโลกแต่ละแห่งด้วยหมายเลข แต่การขึ้นทะเบียนในหลายครั้งก็จะผนวกเอามรดกโลกที่ได้ขึ้นทะเบียนไปแล้วเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลกที่มีพื้นที่มากขึ้น ดังนั้นจึงมีหมายเลขมรดกโลกเกิน 1,200 ไปแล้วแม้ว่าจะมีจำนวนมรดกโลกน้อยกว่าก็ตาม
มรดกโลกแต่ละแห่งเป็นทรัพย์สินของประเทศที่เป็นเจ้าของดินแดนที่มรดกโลกตั้งอยู่ แต่ได้ถูกพิจารณาให้เป็นผลประโยชน์ของประชาคมระหว่างประเทศในการอนุรักษ์มรดกโลกแห่งนั้น


มรดกโลก มรดกอันทรงคุณค่าที่มนุษย์ได้รับจากอดีต ได้ใช้ และภาคภูมิใจในปัจจุบัน และถือเป็นพันธกรณีในการทนุบำรุงดูแลรักษา เพื่อมอบให้เป็นมรดกอันล้ำค่าแด่มวลมนุษย์ในอนาคต




ตามอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก (The World Heritage Convention) ได้แบ่งพื้นที่มรดกโลกออกเป็น มรดกโลกทางวัฒนธรรม (cultural heritage) มรดกโลกทางธรรมชาติ (natural heritage) และมรดกโลกแบบผสมผสาน (mixed heritage) ปัจจุบันมีแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติในประเทศต่างๆทั่วโลก 134 ประเทศ จำนวน 788 แหล่ง แบ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรม 611 แหล่ง มรดกทางธรรมชาติ 154 แหล่ง และเป็นแบบผสมผสาน 23 แหล่ง ซึ่งนำไปสู่ความร่วมมือระดับนานาชาติในการส่งเสริมและสนับสนุนให้แหล่งมรดกโลกได้รับการคุ้มครองและสงวนรักษาอย่างจริงจัง




คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ.2530 และเห็นชอบให้นำเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของไทยรวม 6 แหล่ง เพื่อบรรจุไว้ในบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลก ได้แก่ แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทางทะเลหมู่เกาะตะรุเตา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง



ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 15 ปีพ.ศ. 2534 ที่ประเทศสาธารณรัฐตูนิเซีย แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมจำนวน 2 แหล่ง คืออุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร และอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยากับแหล่งมรดกทางธรรมชาติ 1 แหล่งคือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง ได้รับการประกาศให้บรรจุไว้ในบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลก และในปีถัดมาคือพ.ศ. 2535 ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 16 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศให้เป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม ได้แก่ แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงเป็นแหล่งมรดกโลกอีกแห่งหนึ่ง

"กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่" ของไทยได้รับการประกาศให้เป็นแหล่งมรดกโลกเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2548


ขั้นตอนการขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก

   1.     แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ  ที่จะขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกได้ จะต้องถูกบรรจุอยู่      ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List)   ของศูนย์มรดกโลกเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี


2.     แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ  ที่จะขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกจะต้องจัดทำเอกสารขอขึ้นทะเบียน  ตามที่กำหนดไว้ใน เอกสาร Operational Guidelines for the Implementation of the World Heritage Convention ข้อ 130 ที่กำหนดรูปแบบไว้ ดังนี้

 

  1. ระบุขอบเขตของแหล่งที่จะนำเสนอ  (Identification of the Property) จะต้องระบุขอบเขตให้ชัดเจนระหว่างพื้นที่ที่จะนำเสนอกับพื้นที่เขตกันชน (ตามที่ระบุไว้ในข้อ ๑๐๓  ๑๐๗) แผนที่ที่นำเสนอจะต้องแสดงขอบเขตที่ชัดเจนและเป็นปัจจุบัน หากเอกสารที่เสนอไปกำหนดขอบเขตไม่ชัดเจนจะถือว่าเอกสารนั้น “ไม่สมบูรณ์

  2. รายละเอียดของแหล่งที่จะนำเสนอ  (Description of the Property) จะต้องรวมถึงขอบเขต และภาพรวมของประวัติความเป็นมาและการพัฒนา องค์ประกอบต่างๆ ที่ระบุไว้ในแผนที่จะต้องมีคำอธิบายประวัติศาสตร์และพัฒนาการ ของแหล่งที่จะนำเสนอ จะต้องมีการอธิบายถึงความเป็นมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  และการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญของแหล่งนั้นๆ  ข้อมูลที่บรรยายจะต้องกล่าวถึงคุณค่าที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ความโดดเด่นที่เป็นเลิศ  และบูรณภาพ และ/หรือความเป็นของแท้ดั่งเดิมของแหล่งนั้นๆ

  3. เหตุผลข้อเท็จจริงในการขึ้นทะเบียน (Justification for Inscription) จะต้องชี้ให้เห็นว่าแหล่งที่จะขอขึ้นทะเบียนนั้นตรงกับหลักเกณฑ์ข้อใดเพราะเหตุใด รวมทั้งต้องทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับแหล่งอื่นที่มีความคล้ายคลึงกันที่อาจได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกหรือไม่ก็ได้ การวิเคราะห์เปรียบเทียบนี้จะต้องอธิบายให้เห็นถึงความสำคัญทั้งในระดับชาติและระดับสากล อธิบายเกี่ยวกับบูรณภาพ และ / หรือ ความเป็นของแท้ดั้งเดิมและแสดงให้เห็นว่าแหล่งที่นำเสนอนั้นตรวจตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในข้อ 78-95 อย่างไร

3.     สถานภาพการอนุรักษ์และปัจจัยที่มีผลกระทบต่อแหล่ง (State of conservation and factors affecting the property) จะต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับการอนุรักษ์แหล่ง (ทั้งข้อมูลด้านกายภาพและมาตรการอนุรักษ์ที่ใช้ในพื้นที่) รวมทั้งปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อแหล่ง (รวมถึงภัยคุกคาม) ข้อมูลในส่วนนี้ประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นในการติดตามการอนุรักษ์ของแหล่งที่นำเสนอในอนาคต

4.     การคุ้มครอง และการจัดการ  (Protection and management)

  • การคุ้มครอง  :  รวมถึงรายชื่อของมาตรการด้านต่างๆ อาทิ  ข้อบัญญัติ   การควบคุม สัญญา  แผนสถาบันและ /หรือประเพณี ที่ใช้สำหรับคุ้มครองแหล่งนั้นๆ  วิเคราะห์รายละเอียดแนวทางการดำเนินการคุ้มครอง พร้อมทั้งแนบข้อมูลมาตรการด้านต่างๆ  ที่กล่าวมาข้างต้น โดยจัดทำเป็นภาษาอังกฤษหรือฝรั่งเศส

  • การจัดการ : จะต้องนำเสนอการจัดการ  หรือ ระบบการจัดการที่เหมาะสมในเอกสารการขอขึ้นทะเบียน  เพื่อให้มั่นใจว่าจะมีการนำแผนการจัดการหรือระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพไปใช้ จัดทำสำเนาของแผนการจัดการ หรือ ระบบการจัดการเป็นภาคผนวกของเอกสารที่จะนำเสนอเป็นมรดกโลกจัดทำรายละเอียดการวิเคราะห์ หรือ คำอธิบายของแผนการจัดการหรือเอกสารระบบการจัดการเอกสารที่จะขอขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก  ที่ไม่มีเอกสารที่กล่าวมาข้างต้นจะถือว่าไม่สมบูรณ์ หากไม่มีเอกสารอื่นที่ใช้เป็นคู่มือสำหรับการจัดการพื้นที่จนกว่าแผนการจัดการจะแล้วเสร็จ ตามที่ระบุไว้ในข้อ 115

5.     การติดตามตรวจสอบ (Monitoring) รัฐภาคีจะต้องระบุตัวชี้วัดหลักที่ใช้ในการอนุรักษ์แหล่งนั้น ปัจจัยที่มีผลต่อแหล่งนั้นๆ มาตรการการอนุรักษ์แหล่ง   รายงานการตรวจสอบ และเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ

6.     เอกสารประกอบการนำเสนอ (Documentation)  นำเสนอเอกสารที่จำเป็นต่อการขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก  นอกจากนั้นยังรวมถึงภาพถ่าย สไลด์ บัญชีรูปภาพและภาพถ่าย เนื้อหาของการนำเสนอจะต้องส่งในรูปของเอกสารสิ่งพิมพ์และอิเล็กทรอนิค (Diskette หรือ CD – Rom)

7.     ข้อมูลการติดต่อของเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ (Contact Information of responsible authorities) 8.     ลายเซ็นในนามของรัฐภาคีสมาชิก (Signature on behalf of the State Party)     

 

 

 

 

 

 

รายชื่อแหล่งมรดกโลกในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก..
  • 2539 (1996) - ว - Monasteries of Haghpat and Sanahin
  • 2543 (2000) - ว - Cathedral and Churches of Echmiatsin and the Archaeological Site of Zvartnots
  • 2543 (2000) - ว - Monastery of Geghard and the Upper Azat Valley
  • 2543 (2000) - ว - Walled City of Baku
  • 2550 (2007) - ว - Gobustan Rock Art Cultural Landscape
  • 2528 (1985) - ว - นครมัสยิดประวัติศาสตร์บาเครหัต
  • 2528 (1985) - ว - แหล่งวิหารทางพุทธศาสนาพาฮาร์ปุระ
  • 2540 (1997) - ธ - ซันดาร์บัน
  • 2537 (1994) - ว - Bagrati Cathedral in Kutaisi and Gelati Monastery
  • 2537 (1994) - ว - Historical Monuments of of Mtskheta
  • 2539 (1996) - ว - Upper Svaneti
  • 2522 (1979) - ว -
    Naghsh-i Jahan Square
  • 2522 (1979) - ว - Tchogha Zanbil
  • 2522 (1979) - ว - เปอร์เซโปลิส
  • 2546 (2003) - ว - Takht-e Soleyman
  • 2547 (2004) - ว - Bam and its Cultural Landscape
  • 2547 (2004) - ว - Pasargadae
  • 2548 (2005) - ว - Dome of Soltaniyeh
  • 2549 (2006) - ว - Bisotun
  • 2551 (2008) - ว - ป้อมวิหารอาร์เมเนีย
  • 2552 (2009) - ว - Shushtar Historical Hydraulic System
  • 2553 (2010) - ว - อนุสาวรีย์บรรจุพระศพ ชีค ซาฟี อัลดิน เมืองอาร์ดาบิล
  • 2553 (2010) - ว - ตลาดประวัติศาสตร์ทาบรีซ
  • 2524 (1981) - ว - Old City of Jerusalem and its Walls
  • 2544 (2001) - ว - มาซาดา
  • 2544 (2001) - ว - Old City of Acre
  • 2546 (2003) - ว - นครสีขาวแห่งเทลอาวีฟ
  • 2548 (2005) - ว - Biblical Tels - Megiddo, Hazor, Beer Sheba
  • 2548 (2005) - ว - Incense Route - Cities in the Negev - Haluza, Mamshit, Avdat, Shivta
  • 2551 (2008) - ว - สถานที่ศักดิ์สิทธิ์บาฮาอิในเมืองไฮฟา และอาลิลีตะวันออก
  • 2546 (2003) - ว - อนุสาวรีย์บรรจุศพของโฮยา อะเหม็ด ยาซาวี
  • 2547 (2004) - ว - จิตรกรรมขูดหินภายในภูมิทัศน์ทางโบราณคดีแห่งทัมกาลีย์
  • 2551 (2008) - ธ - ซาร์ยาร์กา ทุ่งกว้างและทะเลสาบทางตองเหนือของคาซัคสถาน
  • 2553 (2010) - ธ - พื้นที่อนุรักษ์หมู่เกาะฟินิกซ์
  • 2552 (2009) - ว - Sulaiman-Too Sacred Mountain

  • 2553 (2010) - ว - เกาะปะการังบิกินี่ สถานที่ทดลองนิวเคลียร์
  • 2533 (1990) - ธ - เท วาฮีโปอูนามู - นิวซีแลนด์ตะวันตกเฉียงใต้
  • 2533 (1990) - ผ - อุทยานแห่งชาติตองการิโร
  • 2541 (1998) - ธ - หมู่เกาะกึ่งขั่วโลกใต้แห่งนิวซีแลนด์
  • 2523 (1980) - ว - กลุ่มซากโบราณคดีที่โมเอนโจดาโร
  • 2523 (1980) - ว - ตักสิลา
  • 2523 (1980) - ว - Buddhist Ruins at Takht-i-Bahi and Neighbouring City Remains at Sahr-i-Bahlol
  • 2524 (1981) - ว - ป้อมและสวนชาลามาร์แห่งลาฮอร์
  • 2524 (1981) - ว - กลุ่มอนุสาวรีย์ประวัติศาสตร์แห่งทัตตา
  • 2540 (1997) - ว - ป้อมโรห์ตัส
  • 2551 (2008) - ว - Kuk Early Agricultural Site
  • 2536 (1993) - ธ - อุทยานปะการังทางทะเลทุบบาตาฮะ
  • 2536 (1993) - ว - โบสถ์ยุคบารอคแห่งฟิลิปปินส์
  • 2538 (1995) - ว - นาขั้นบันไดแห่งเทือกเขาฟิลิปปินส์
  • 2542 (1999) - ว - นครประวัติศาสตร์วีกัน
  • 2542 (1999) - ธ - อุทยานแห่งชาติแม่น้ำใต้ดินปวยร์โต-ปรินเซซา
รัสเซีย (ส่วนที่อยู่ในเอเชีย) (8)
  • 2539 (1996) - ธ - กลุ่มภูเขาไฟคัมชัตคา (ขยายเพิ่มปี 2544)
  • 2539 (1996) - ธ - ทะเลสาบไบคาล
  • 2541 (1998) - ธ - Golden Mountains of Altai
  • 2544 (2001) - ธ - แนวเขาซีโคเต-อะลินตอนกลาง
  • 2546 (2003) - ธ - รุ่มน้ำอุฟส์นู (ร่วมกันมองโกเลีย)
  • 2547 (2004) - ธ - Natural System of Wrangel Island Reserve
  • 2542 (1999) - ธ - Western Caucasus (รวมอยู่ในทวีปยุโรปด้วย)
  • 2546 (2003) - ว - Citadel, Ancient City and Fortress Buildings of Derbent, Dagestan (รวมอยู่ใทวีปยุโรปด้วย)
  • 2541 (1998) - ธ - เรนเนลล์ตะวันออก
  • 2525 (1982) - ว - นครประวัติศาสตร์โปลอนนารุวา
  • 2525 (1982) - ว - นครประวัติศาสตร์สิคิริยา
  • 2525 (1982) - ว - เมืองศักดิ์สิทธิ์อนุราธปุระ
  • 2531 (1988) - ว - เมืองเก่าและป้อมแห่งเมืองโกลล์
  • 2531 (1988) - ว - เมืองศักดิ์สิทธิ์คานดี
  • 2531 (1988) - ธ - พื้นที่ป่าสงวนสิงหราชา
  • 2534 (1991) - ว - วัดทองแห่งดัมบุลลา
  • 2553 (2010) - ว - ที่ราบสูงตอนกลางแห่งศรีลังกา
  • 2553 (2010) - ว - แหล่งโบราณคดีซาราสซึม
  • 2542 (1999) - ว - อุทยานแห่งชาติทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม "เมียร์ฟโบราณ"
  • 2548 (2005) - ว - คูเนีย - อูร์เกนช์
  • 2550 (2007) - ว - ป้อมปราการมาร์เทียนแห่งนีซา

  • 2533 (1990) - ว - อิตชานคาลาแห่งเมืองคีวา
  • 2536 (1993) - ว - ศูนย์ประวัติศาสตร์บูคารา
  • 2543 (2000) - ว - ศูนย์ประวัติศาสตร์ชาห์รีซับซ์
  • 2544 (2001) - ว - ซามาร์คันด์
  • 2551 (2008) - ว - Chief Roi Mata’s Domain
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

       
มีใครเคยสงสัยบ้างว่า ทำไมฝรั่งต่างชาติจึงลงทุนข้ามน้ำข้ามทะเลมาเดินฝ่าแดดร้อนเปรี้ยงในบ้านเรา  เพื่อชมซากก้อนอิฐก้อนหินพัง ๆ  หรือโบราณสถานเก่า ๆ ในบ้านเรา เคยมีนักท่องเที่ยวสาวต่างชาติคนเหนึ่งเล่าให้ฟัง เธอบอกว่าทวีปเอเชียเป็นดินแดนที่ลึกลับและท้าทาย สำหรับคนหนุ่มสาวชาวตะวันตกการได้ออกมาท่องโลกซีกตะวันออกนั้นถือเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ชีวิตอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย  ถือเป็นสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งที่ถูกบรรจุลงในโปรแกรมการท่องเที่ยว  และชาวต่างชาติก็นิยมเดินทางมาเที่ยวชมอยู่ไม่ขาด  อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลก  โดยองค์การยูเนสโก้    UNESCO ในปี 2537 สำหรับผู้ที่จะเดินทางไปเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ท่านสามารถเดินทางไปได้หลายทาง 
สำหรับการเดินทางไปเที่ยวชมเมืองแห่งประวัติศาสตร์สุโขทัยในคราวนี้ ผมอาศัยบริการของรถโดยสารที่สถานีขนส่งสายเหนือ หรือ หมอชิต 2   ส่วนรถยนต์โดยสารปรับอากาศที่จะไปยังจังหวัดสุโขทัยนั้นก็มีให้บริการทั้งวัน ระยะทาง  440   กม.  จากกรุงเทพฯ  ถึงสุโขทัย ใช้เวลาเดินทางราว ๆ 5 ชั่วโมง หากเดินทางออกจากขนส่งสายเหนือช่วงเช้า จะไปถึงสุโขทัยก็ช่วงบ่ายแก่ ๆ แต่หากเดินทางตอนกลางคืน  ขอแนะนำให้ไปรถเที่ยวดึกหน่อยครับ  จะได้ไปถึงจังหวัดสุโขทัยตอนช่วงฟ้าสางพอดี ส่วนใครสะดวกจะเดินทางด้วยเครื่องบินก็ใช้เวลาไม่ถึงชั่วโมง อันนี้สะดวกสุดครับ
สำหรับคนที่เดินทางด้วยรถโดยสารประจำทาง เมื่อท่านเดินทางไปถึงจังหวัดสุโขทัย รถโดยสารจะไปจอดที่สถานีขนส่ง ซึ่งอยู่นอกเมือง ใครมาสุโขทัยครั้งแรกอย่าตกใจว่าทำไมจังหวัดสุโขทัยเงียบจัง   ด้วยความที่สุโขทัยเป็นเมืองปิด ดังนั้นคงยากสักหน่อยที่จะมาเห็นผับบาร์แสงสีเสียง หรือสถานบันเทิงอย่างจังหวัดอื่น ๆ อีกอย่างด้วยความที่เป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ เป็นอู่ข้าวอู่น้ำมาแต่อดีต  ชาวเมืองสุโขทัยแค่ทำอาชีพเกษตรกรรมก็สมารถเลี้ยงตัวและครอบครัวได้สบาย ๆ โดยไม่ต้องดิ้นรนไปทำงานบริการอย่างอื่นเสริมให้ลำบาก  เมื่อเดินทางมาถึงสุโขทัย  ท่านสามารถเดินทางต่อไปยังอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยได้ทันที่  โดยสามารถต่อรถสองแถวค่าโดยสารท่านละ 10 บาท สอบถามจากเจ้าหน้าที่ในขนส่งได้เลยว่าคันไหนไปอุทยานประวัติศาสตร์  หรือหากต้องการความสะดวก ไม่อยากเสียเวลารอรถโดยสาร ท่านสามารถเหมาสามล้อเครื่อง หรือรถตุ๊กตุ๊กไปส่งได้


อุทยานประวิตศาสตร์ศรีสัชนาลัย

“ศรีสัชนาลัย” มรดกโลกที่ต้องไปเยือน
การท่องเที่ยวแหล่งโบราณสถานแหล่งโบราณคดี นอกจากเป็นการเรียนรู้ศึกษาประวัติศาสตร์ไปในตัวแล้ว  การท่องเที่ยวแนวนี้  นับมีเสน่ห์ และมีความน่าสนใจอยู่ไม่น้อยทีเดียว  โดยเฉพาะการได้สัมผัสกับวิธีชีวิตผู้คนชาวบ้านที่ยังดำเนินชีวิตในแบบดั้งเดิม ซึ่งแม้วันนี้วันเวลาจะได้ทำให้วิธีเก่าแก่เหล่านั้นลดน้อยถอยลงจนแทบจะไม่มีให้เห็น ทว่ากับสิ่งที่พอจะยังมีหลงเหลืออยู่นี้ ก็สมารถทำให้เที่ยวเดินทางของเรามีสีสัน เกิดความรู้สึกรักและภาคภูมิใจรากเหง้าของเราคนไทยขึ้นมาในทันที
  อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ถือเป็นมรดกโลกที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทยเรา   หากมีโอกาสหรือมีเวลาว่างผมขอแนะนำให้เดินทางไปเที่ยวชมกันครับ 
 อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ตั้งอยู่ห่างจากตัวอำเภอศรีสัชนาลัยลงมาทางอำเภอสวรรคโลกประมาณ  11 กิโลเมตร  ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 550 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ในเขตของตำบลศรีสัชนาลัย  ตำบลสารจิตร ตำบลหนองอ้อ ตำบลท่าชัย ส่วนตัวเมืองโบราณศรีสัชนาลัยอยู่ใน
บริเวณ  “แก่งหลวง” ในเขตหมู่บ้านพระปรางค์   ตำบลศรีสัชนาลัย อ. ศรีสัชนาลัย จ. สุโขทัย มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 45.14 ตารางกิโลเมตร เดิมชื่อว่า “เมืองเชลียง” แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น “ศรีสัชนาลัย” ในสมัยกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงขึ้นครองกรุงสุโขทัย และได้สร้างเมืองขึ้นใหม่เป็นศูนย์กลางการปกครองแทนเมืองเชลียง ในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์มีโบราณสถาน และโบราณวัตถุทั้งหมด 215 แห่ง สำรวจค้นพบแล้ว 204 แห่ง


อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร


บ่อยครั้งที่เดินทางขึ้นเหนือเราอาจจะผ่านเลยเมืองกำแพงเพชรไปอย่างเหลือเชื่อทั้ง ๆ ที่จะว่าไปเมืองกล้วยไข่แห่งนี้มีของดีอยู่หลายๆอย่าง
เรียกว่าที่ผ่านมาไม่เคยหาโอกาสไปเยือนเมืองกำแพงเพชร หรือ "ชากังราว"อย่างเป็นเรื่องเป็นราวเลยสักครั้ง ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม2534 จังหวัดกำแพงเพชรตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย สภาพภูมิประเทศทางด้านทิศเหนือและทิศใต้ของจังหวัดเป็นที่ราบ
ส่วนทางทิศตะวันตกเป็นภูเขาสลับซับซ้อน และเป็นต้นน้ำของลำธารต่างๆ เช่น คลองสวนหมาก คลองวังเจ้า คลองขลุง และคลองแขยง ซึ่งจะไหลลงสู่แม่น้ำปิง ที่เป็นแม่น้ำสำคัญที่ไหลผ่านกลางพื้นที่ของจังหวัดตั้งแต่เหนือสุดจนใต้สุด กำแพงเพชรเป็นที่ตั้งของเมืองเก่าที่ปรากฎหลักฐานอยู่ในประวัติศาสตร์ไทยไม่น้อยกว่า700ปี เคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัยมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง
และเป็นเมืองหน้าด่านทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ตัวเมืองตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิงปรากฏซากกำแพงเมืองเก่าเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมูโค้งไปตามแนวลำน้ำปิงส่วนกำแพงเมืองและป้อมปราการสร้างอย่างแข็งแรงและยังเหลือร่องรอยอยู่จนปัจจุบันจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ก่อนมีเมืองกำแพงเพชรเคยมีเมืองเก่ามาก่อน2เมือง คือ เมืองชากังราว ตั้งอยู่ทางฝั่งซ้าย(ตะวันออก)ของแม่น้ำปิง และเมืองนครชุม อยู่ทางฝั่งขวา(ตะวันตก) ของแม่น้ำปิง กำแพงเพชร จึงเป็นเมืองแห่งประวัติศาสตร์วัฒนธรรม และธรรมชาติป่าเขา น้ำตก อันงดงาม มีอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลก เมื่อปี 2534 และยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ยังคงสมบูรณ์ ทั้งป่าไม้ นก สัตว์ต่าง ๆ อาทิ อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ อุทยานแห่งชาติคลองลาน
และอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า ให้นักท่องเที่ยวได้ชื่นชมความงามอีกด้วย อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรแบ่งออกเป็นโบราณสถานฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง ซึ่งใช้วัสดุก่อสร้างที่แตกต่างกันด้านตะวันออกของแม่น้ำปิงเป็นที่ตั้งเมืองกำแพงเพชรโบราณสถานจะสร้างด้วยศิลาแลงและมีขนาดใหญ่
ส่วนโบราณสถานฝั่งตะวันตกคือเมืองนครชุมก่อสร้างด้วยอิฐและมีขนาดเล็ก แต่รูปแบบศิลปะที่ปรากฏมีลักษณะร่วมสมัยระหว่างสุโขทัยและอยุธยา
นอกจากนี้ยังมีโบราณสถานนอกเมืองกำแพงเพชร หรือเขตอรัญญิก ซึ่งเป็นที่อยู่ของสงฆ์ที่มุ่งในการปฎิบัติวิปัสสนาธรรม อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
ระยะทาง 2 กิโลเมตร อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรได้รับการประกาศให้เป็น มรดกโลก ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
และอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2534
ผู้สนใจเข้าชมได้ทุกวัน เวลา 08.00-17.00 น ค่าเข้าชมชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 40 บาท สำหรับผู้ที่จะนำรถเข้าชมในบริเวณอุทยานจะต้องเสียค่าผ่านประตูคันละ50 บาท รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ โทร. (055) 711921

นครประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา

กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี้เก่าของประเทศไทยมานาน 417 ปี ก่อนจะถูกกองทัพพม่าเผาจะแหลกรานจน
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชต้องย้ายมาสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ฯ หรือกรุงเทพฯ ขึ้นเป็นเมืองหลวง แห่งใหม่จวบจนกระทั่งปัจจุบัน กรุงศรีอยุธยาเป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติมาแต่ครั้งอดีตที่เจิญรุ่งเรือง มีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติ
มีบันทึกฝรั่งมากมายกล่าวความเจริญรุ่งเรืองของราชธานีแห่งดินแดนตะวันออกแห่งนี้เอาไว้มากมาย แม้วันนี้ ความเจริญรุ่งเรืองเมื่อครั้งอดีตจะเหลือเพียงซากปรักหักพังของโบราณสถาน วัดวาอารามต่าง ๆ แต่ต่อมาก็ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลก
และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของไทย ซึ่งอยู่ ไม่ไกลจากกรุงเทพมหานคร สำหรับผู้ที่จะเดินทางไปเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์อยุธยานั้น สะดวกสบายมาก ท่านสามรถเดิน ทางจากกรุงเทพฯ แบบไปเช้าเย็นกลับได้ ส่วนการเดินทางสามารถไปได้หลายทาง ทางรถยนต์นั้นให้เวลา แค่ชั่วโมงเศษก็ไปถึงอยุธยาแล้ว สำหรับการเดินทางโดยเรือจากกรุงเทพฯ ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ได้รับ ความนิยมจากบรรดานักท่องเที่ยว
เพราะระหว่างทางท่านจะได้พบเห็นบรรยากาศ และภาพวิถีชีวิตคนไทย ตลอดแนวสองฝากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาไปตลอดเส้นทาง จะว่าไปแล้ว หากคิดจะเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาให้ได้บรรยากาศ ก็อย่างที่ว่าควรจะล่องเรือ ไปเที่ยว เพราะจะได้ซึมซับบรรยากาศเมืองเวนิชตะวันออก แต่หากไม่สะดวก ขอแนะนำให้ขับรถไปเอง หรือจะใช้บริการรถยนต์โดยสารประจำทาง รถไฟ หรือรถตู้ ก็มีไว้บริการทั้งวัน ส่วนใครคิดอยากจะค้างคืนพักโรงแรม หรือเกตเฮาส์ บรรยากาศแบบใกล้ชิดริมน้ำก็มีให้เลือก มากมายหลายแห่งหลายระดับราคา

เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวร

  
ฟื้นฟูธรรมชาติ และคืนสัตว์ป่า ให้ทุ่งใหญ่นเรศวร” สัมผัสอีกแง่มุมของการเดินทางสู่มรดกโลก
การเดินทางสู่ธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ ของผืนป่า "เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร" อันเลื่องชื่อ เป็นประสบการณ์ที่น่าจดจำของนักเดินทาง เพราะเส้นทางอันยากลำบาก สอนให้เราอดทนฟันฝ่าอุปสรรค ที่ขวางกั้น เพื่อเข้าไปสัมผัสธรรมชาติอันงดงาม และยิ่งใหญ่ สอนให้เราระลึกถึงคุณค่าของธรรมชาติ และปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งเหล่านี้ให้คงอยู่ตลอดไป ครั้งนี้ผมมีโอกาสอันดี ที่นอกจากจะเดินทางเพื่อท่องเที่ยวแล้ว ยังได้ร่วมทำประโยชน์ซึ่งเชื่อว่านักเดินทางทั้งหลายคงจะรู้สึกดีหากการเดินทางมีอะไรมากกว่าการไปเที่ยว ผมมีโอกาสเดินทางไปกับขบวนคาราวานโฟร์วิลส์
ที่มีวัตถุประสงค์นอกจากการท่องเที่ยวยังได้นำเกลือไปมอบให้ทางเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรเพื่อนำไปซ่อมบำรุงโป่งสัตว์ ที่มีอยู่มากมายในเขตป่าทุ่งใหญ่นเรศวร เพื่อให้สัตว์ป่าได้มีแหล่งอาหารแร่ธาตุอย่างพอเพียง "เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร" มีอาณาบริเวณถึง 2,071,875 ไร่ อยู่ในเขตตำบลไร่โว่ อำเภอ สังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี และตำบลแม่ละมุ้ง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก สภาพป่าจะเป็นภูเขาสลับซับซ้อน อยู่ระหว่างรอยต่อทิวเขาถนนธงชัยตอนปลาย และทิวเขาตะนาวศรีตอนต้น พื้นที่บางส่วนเป็นที่ราบเชิงเขา หุบเขา ทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ มีต้นไม้ดึกดำบรรพ์ คือ ต้นปรง และต้นเป้งขนาดใหญ่ขึ้นมากมาย ประกอบกับ สภาพป่าดงดิบอันอุดมสมบูรณ์ จึงทำให้ทุ่งใหญ่ ฯ เป็นถิ่นที่อยู่ของสัตว์ป่าชนิดต่างๆ เช่น กวาง เสือ ช้างป่า ป่าผืนนี้ยังมีอาณาเขตติดต่อกับ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี ทางทิศตะวันออก และป่าแม่กลอง กับป่าอุ้มผาง ทางทิศเหนือ รวมกันเป็น 5,495,693 ไร่ ถือว่าเป็นผืนป่าอันใหญ่ และอุดม สมบูรณ์ของประเทศ ด้วยธรรมชาติที่สวยงาม และมีเอกลักษณ์แปลกกว่าที่อื่น เป็นที่น่าสนใจและพบเห็นได้เฉพาะในเขตรักษา พันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร
ป่าไม้ส่วนใหญ่ยังสมบูรณ์ด้วยไม้ชั้นต่างๆ ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น ตามคบไม้ มักจะประดับไปด้วยกล้วยไม้ป่าที่ออกดอกมีสีสันต่างๆ บางต้นเป็นที่เกาะทำรังของผึ้ง และมีรวงผึ้งเกาะ แขวนอยู่ตามกิ่งไม้ เป็นจำนวนมาก บางแห่งเป็นป่าไผ่นานาชนิดที่สมบูรณ์ และมีขนาดใหญ่งดงาม นอกจากนั้นยังมีทุ่งหญ้าและป่าโปร่ง ซึ่งมีกระจายอยู่ทั่วไปตามเนินเขา เช่น ทุ่งใหญ่ ทุ่งฤาษี ทุ่งนเรศวร ทุ่งหญ้าเหล่านี้ มักจะมีไม้พื้นล่าง ตระกูลปาล์ม เช่น เป้ง ปรง ขึ้นแซมผสมอยู่กับไม้ยืนต้น ทำให้มองดู แปลกกว่าที่อื่น ต้นปรงส่วนใหญ่มีขนาดโต และมีลักษณะงดงามตามธรรมชาติ ตามท้องทุ่งบางแห่งจะมี กล้วยไม้ดินและดอกหญ้า ขึ้นสลับกับสีเขียวของทุ่งหญ้า สัตว์ป่าหลายชนิดได้อาศัยทุ่งหญ้าเหล่านี้เป็น ที่หากิน
จึงมักจะพบรอยเท้าสัตว์และทางด่านสัตว์เต็มไปหมด โดยเฉพาะตามน้ำซับและดินโป่งซึ่งมีอยู่ ทั่วไป โป่งซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ โป่งซ่งไท้เล็ก โป่งซ่งไท้ใหญ่ โป่งดงวี โป่งตะเลอะเซอะ โป่งบอน โป่งไผ่ และหนองหม่องดง ซึ่งมีนกชุกชุมมาก ลำห้วยหลายแห่งมีความสวยงามตามธรรมชาติที่หาได้ยาก เช่น ลำแควใหญ่ ที่ไหลผ่านทางด้านตะวันออก ห้วยแม่หม่องดง แม่น้ำกษัตริย์ใหญ่ ห้วยเซซาโว่ ห้วยเลอะเซอะ ห้วยดงวี ห้วยซ่งไท้ เป็นต้น ธรรมชาติที่น่าสนใจเหล่านี้
เป็นส่วนที่ได้สำรวจพบแล้วในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่มีเนื้อที่มากกว่า 2 ล้านไร่ และยังไม่ได้สำรวจโดยละเอียดอีกหลายแห่ง จึงคาดว่าจะได้พบสัตว์ป่าและธรรมชาติที่น่าสนใจอีกมากมาย ส่วนทางด้านตะวันออกมีทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ ซึ่งอุดมด้วยสัตว์ป่า ถ้ำงู ถ้ำกระดูก บึงกะระตู บึงน้ำขนาดใหญ่ เป็นที่อยู่อาศัยของ "เป็ดก่า" ซึ่งเป็นนกน้ำประจำถิ่นที่มีประชากรน้อยมากในธรรมชาติ


อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

   

รักษ์และเรียนรู้ธรรมชาติ... บนผืนป่าเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เป็นผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ มากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย และเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และต่างประเทศด้วยเหตุผลหลายประการ อาทิ ไม่ไกลจากกรุงเทพฯเดินทางสะดวก ค่าใช้จ่ายไม่แพง สถานที่ท่องเที่ยว สวยงาม พบเห็นสัตว์ป่าได้ง่าย ที่สำคัญทุกตารางนิ้วของป่าเขาใหญ่ยังแฝงไว้ด้วยบทเรียนทางธรรมชาติวิทยา ที่ทุกคน สามารถแสวงหาความรู้ได้อย่างไม่สิ้นสุด ผมเงยหน้ามองต้นไม้ใหญ่ที่สูงจนคอตั้งบ่าต้นนั้น หูยังคงฟังเสียงอธิบายจากเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ที่พาคณะนักเดินป่า ผู้หลงใหลในธรรมชาติ เริ่มต้นเดินมาจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ความหวาดกลัวทาก ซึ่งจู่โจมพวกเราตั้งแต่เริ่มเข้าดงดูเหมือนจะลดลงไปมาก
เมื่อความสนใจไปจับจ้องอยู่ที่ความอัศจรรย์เบื้องหน้าเจ้าหน้าที่ป่าไม้บอกว่าภาพที่เห็นนั้นไม่ใช่เพียงแค่ต้นไม้ใหญ่อย่างเดียว หากแต่ ต้นไม้ใหญ่ที่แทงยอดสูงขึ้นไปไม่ต่ำกว่า 30 เมตร ใต้ร่มเงา คือกอหวายมากมาย ตามเปลือกไม้แลเห็น มอส จับเป็นพื้ด รวมไปถึงกล้วยไม้ และเฟิร์นหลากชนิด ผมเพิ่งเข้าใจว่า ต้นไม้เพียงหนึ่งต้นอาจอธิบายถึงสังคมพืชในป่าใหญ่ ได้ครอบคลุมทีเดียว เขาใหญ่จึงไม่เพียงเป็นป่าใหญ่ใกล้เมืองเท่านั้น หากยังเป็นเสมือนห้องเรียนขนาดใหญ่ ซึ่งสอนมนุษย์ให้มีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติ และนั่นก็เป็นหน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งของพื้นที่ซึ่งเรียกว่า อุทยานแห่งชาติ แม้กระนั้น คนมากมายที่มาเที่ยวป่าก็อาจไม่เห็นป่า เห็นเพียงต้นไม้มากมายขึ้นรกเรื้อไร้ระเบียบ
แต่หากลองหยุดมองต้นไม้แม้เพียงสักต้น มองอย่างลึกซึ้งและใคร่ครวญ และไม่เพียงจะได้เห็นสิ่งที่อยู่เบื้องหน้าเท่านั้น แต่มันอาจเป็นประตูนำเราล่วงลึกเข้าสู่ป่าใหญ่ซึ่งอยู่เบื้องหลังได้ เราเดินมาถึงอ่างเก็บน้ำมอสิงโต มองไปทางตะวันออกเห็นภูเขาที่อยู่ข้างหน้าคือ เขาร่มกับเขาเขียว ซึ่งมีต้นไม่ใหญ่แน่นทึบไปหมด ลัดเลาะมาตาม พุ่มเอนอ้าหรือ อ้าหลวง เป็นไม้เบิกนำชนิดหนึ่ง ที่ช่วยให้ธรรมชาติสร้างป่าทดแทนขึ้นมา เราเดินต่อไปไม่นานก็พบว่า ต้นไม้เริ่มสูงและมีร่มเงามากขึ้น แม้ว่าโปร่งพอที่แดดจะส่องลงมาได้ก็ตาม บริเวณนี้เป็น
ดงติ้วป่ากว่าจะเป็นป่าใหญ่อย่างที่เห็นในปัจจุบัน ต้องผ่านการทำงานของพืบแต่ละชั้นเป็นขั้นเป็นตอน จากป่าหญ้าคามาเป็นดงสาบเสือกลายเป็นไม้พุ่มอย่างเอนอ้า จนมาถึงไม้ต้นอย่างติ้วป่า และไม้ตระกูลปอ จึงจะกลายเป็นป่าดงดิบได้ และจากแนวถนนมาจนถึงที่นี่ ผมได้เห็นสังคมพืบหลายประเภท เริ่มจากไม่ซับซ้อนมากนัก ค่อยๆเพิ่มความหลากหลายของพืชพรรณมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเข้าใกล้ดงใหญ่ที่แท้จริง เราเข้าสู่ดงไม้ที่มืดครึ้ม ผิดกับช่วงที่ผ่านมาอย่างสิ้นเชิงทกเป็นอุปสรรคไม่น้อยสำหรับการเดินป่าในครั้งนี้
แม้จะเป็นเรื่องธรรมดาในป่าที่ชุกชุมด้วยสัตว์ป่าอย่างเขาใหญ่ แต่ความกลัวทอกก็ทำให้บางคนไม่มีสมาธิที่จะดูสิ่งอื่น จากจุดแรกที่เราอยุดก่อนจะเข้าดง เรามองเห็นป่าดิบจากระยะไกล คราวนี้เราเข้าใกล้กันจนชิด ใต้ต้นยางที่สูงใหญ่ เห็นไม้พื้นล้างของป่าดิบมีพรรณไม้จำพวกหวาย
และป่าขึ้นอยู่มากมายซึ่งพรรณไม้เหล่านี้ใช้เป็นเครื่องสังเกตสำหรับป่าดิบชื้นได้ รวมไปถึงต้นปอหูช้างที่มีใบใหญ่เท่ากะละมัง เมื่อเงยหน้ามองขึ้นไปบนคบไม้ มีเฟิร์น ตลอดเส้นทางที่เราเดินศึกษาธรรมชาติในป่าเขาใหญ่
ทำให้เราได้รับรู้เรื่องราวต่างๆมากมาย และทำให้เห็นถึงเหตุและปัจจัยที่ส่งผลให้ธรรมชาติเป็นอย่างที่เราเห็นอยู่ตรงหน้าว่า ธรรมชาติมีเหตุผลเสมอไม่มีชีวิตใดที่เกิดอย่างไร้เหตุผล ปราศจากหน้าที่ ไม่มีอะไรอยู่อย่างโดดเดี่ยว การสัมผัสสิ่งหนึ่ง ย่อมกระทบถึงอีกสิ่งหนึ่งอย่างเลี่ยงไม่ได้ เหมือนกันประโยคที่ว่า เด็ดดอกไม้ สะเทอนถึงดวงดาว ส่วนเรื่องที่พักอาหารการกินไม่ต้องห่วง


แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง

หลังจากที่กรมศิลปากรได้ไปขุดค้น และตรวจเก็บวัตถุโบราณที่กระจัดกระจายอยู่ในหมู่บ้านกลาง ทุ่งนามาตรวจสอบแล้วพบว่าสิ่งของเหล่านั้นเป็นของเก่ายุคก่อนประวัติศาสตร์ อายุ 5000 ปี หมู่บ้านบ้านเชียง แห่งอำเภอหนองหาร จังหวัดอุดรธานี ก็กลายเป็นที่รู้จักของคนทั้งประเทศและ ทั้งโลกขึ้นมาในทันที ทั้งที่ก่อนหน้านี้
ชาวบ้านเชียงต่างก็พบเห็นวัตถุโบราณเหล่านี้อยู่เป็นประจำทุกครั้งที่ขุดลงไป ใต้ดิน ไม่น่าเชื่อว่าในที่สุดเศษวัตถุถ้วยชามเก่า ๆ ลายเขียนสีแดงจะกลายเป็นแสงดึงดูดให้ผู้คนจาก ทั่วทุกสารทิศให้หลั่งไหลเดินทางมาเยือนแดนดินอันไกลโพ้นทางภาคอีสานแห่งนี้

จารึกหลักที่๑





จารึกพ่อขุนรามฯมรดกโลก คุณเคยลองนึกบางไหมว่าตัวหนังสือที่เราใช้อ่านเขียนกันมันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร จึงอยากไปสัมผัสต้นกำเนิดของภาษาไทยเราจึงค้นคว้าหาข้อมูลและทราบว่า สิ่งที่ผมอยากรู้ตอนนี้อยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร ซึ่งตั้งอยู่บริเวณท้องสนามหลวงนั่นเอง การเดินทางไปก็ไม่ยากลำบาก
มีพาหนะให้เลือกใช้บริการมากมาย แต่ที่สะดวกและประหยัดคงหนีไม่พ้นรถเมล์ ข้อมูลสำคัญของศิลาจารึกหลักที่1นี้บอกไว้ว่า คณะกรรมการที่ปรึกษานานาชาติของยูเนสโก ประชุมกันที่เมือง "กแดนซค์" (Gdansk) ประเทศโปแลนด์ ได้พิจารณาใบสมัครจำนวน 43 รายการ จาก 27 ประเทศทั่วโลก
ผลประชุมมีมติสนับสนุนเป็นเอกฉันท์ให้ยูเนสโกจดทะเบียนระดับโลก ศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหง ได้รับการจดทะเบียนระดับโลกในปี 2546 ซึ่งจะตรงกับวาระครบรอบ 720 ปี ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง หลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง
ที่เป็นเหมือนรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง บางทีเรียกว่า จารึกหลักที่ 1
เป็นจารึกที่สำคัญและยกย่องว่าเป็นวรรณคดีเรื่องแรกของไทยที่บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้เพราะการใช้ภาษาในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงนั้นเข้าลักษณะสากลที่ว่า ภาษาของคนโบราณมักใช้ถ้อยคำพื้นๆ ประโยคที่ใช้กินความเป็นภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียน บางตอนมีเสียงของคำสัมผัส ฟังไพเราะเข้าลักษณะของวรรณคดีได้
ปัจจุบันศิลาจารึกจัดแสดงไว้ที่ห้องประวัติศาสตร์ชาติไทยในพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร สันนิษฐานว่าหลักศิลาจารึกนี้ผู้แต่งอาจมีมากกว่า 1 คน เพราะเนื้อเรื่องในหลักศิลาจารึกแบ่งได้เป็น 3 ตอน ตอนที่ 1 ใช้คำแทนชื่อว่า กู เข้าใจว่าพ่อขุนรามคำแหงคงจะทรงแต่งเอง ตอนที่ 2 และ 3
เข้าใจว่าจะต้องเป็นผู้อื่นแต่งเพิ่มเติมภายหลัง โดยจุดมุ่งหมายก็เพื่อบันทึกเรื่องราวต่างๆ ในสมัยกรุงสุโขทัย ลักษณะการปกครอง ชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎร ตลอดจนบรรยายถึงความเจริญรุ่งเรือง
และความสมบูรณ์พูนสุขของกรุงสุโขทัยลักษณะการแต่ง แต่งเป็นร้อยแก้วที่มีลักษณะเป็นภาษาไทยแท้ เป็นประโยคสั้นๆ กะทัดรัด บางตอนมีเสียสัมผัสคล้องจองกันบ้างระหว่างวรรคเนื้อหาสาระ ตอนที่ 1 เป็นเรื่องราวของพ่อขุนรามคำแหงทรงเล่าประวัติของพระองค์ตั้งแต่ประสูติจนได้เสวยราชย์ ใช้คำแทนชื่อว่า "กู" เป็นพื้น จึงเป็นทำนองอัตชีวประวัติ ตอนที่ 2
เนื้อเรื่องเป็นการเล่าเหตุการณ์ต่างๆ และขนบธรรมเนียมของกรุงสุโขทัย การสร้างพระแทนมนังคศิลา การสร้างวัดมหาธาตุ เมืองศรีสัชนาลัย และการประดิษฐ์อักษรไทย ตอนที่ 3
เนื้อเรื่องเป็นการกล่าวสรรเสริญและยอพระเกียรติพ่อขุนรามคำแหง และกล่าวถึงอาณาเขตของกรุงสุโขทัยที่แผ่กว้างออกไป
เรียกได้ว่าศิลาจารึกหลักที่1นี้ให้คุณค่าอย่างมหาศาลไม่ว่าจะเป็น ด้านประวัติศาสตร์ ให้ความรู้เกี่ยวกับพระราชประวัติพ่อขุนรามคำแหง จารึกไว้ทำนองเฉลิมพระเกียรติ ตลอดจนความรู้ด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และสภาพสังคมของกรุงสุโขทัย ทำให้ผู้อ่านรู้ถึงความเจริญรุ่งเรืองของกรุงสุโขทัย พระปรีชาสามารถของพ่อขุนรามคำแหง และสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชาวสุโขทัย 2. ด้านสังคม
ให้ความรู้ในด้านกฎหมายและการปกครองในสมัยสุโขทัย 3 ด้านวัฒนธรรม ให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมและประเพณีของชาวสุโขทัย 4 ด้านภาษา จารึกของพ่อขุนรามคำแหงเป็นหลักฐานสำคัญที่สุด ที่แสดงให้เห็นถึงกำเนิดของวรรณคดีและอักษรไทย
ดังมีตัวอย่างให้เราท่านได้ชมกันมีข้องความดังนี้คือ "พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง ตูพี่น้องท้องเดียวห้าคน ผู้ชายสาม ผู้ญิ่งโสง
พี่เผือผู้อ้ายตายจากเผือเตียมแต่ยังเล็ก" "เมื่อชั่วพ่อกู กูบำเรอแก่พ่อกู กูบำเรอแก่แม่กู กูได้ตัวเนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้มหมากหวาน อันใดกินอร่อยกินดี กูเอามาแก่พ่อกู กูไปตีหนังวังช้างได้ กูเอามาแก่พ่อกู กูไปท่บ้านท่เมือง ได้ช้างได้งวง ได้ปั่วได้นาง ได้เงือนได้ทอง กูเอามาเวนแก่พ่อกู พ่อกูตายยังพี่กู กูพร่ำบำเรอแก่พี่กู ดั่งบำเรอแก่พ่อกู พี่กูตาย จึงได้เมืองแก่กูทั้งกลม"

สาเหตุที่ประเทศไทยลาออกจากการเป็นภาคีสมาชิกมรดกโลก?
เมื่อเวลาประมาณ 23.45 น. วันที่ 25 มิถุนายน นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก แถลงที่กรุงปารีส ว่า ไทยได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลกและกรรมการมรดกโลก หลังจากศูนย์มรดกโลกและยูเนสโกไม่ได้ฟังข้อทักท้วงของไทย ทั้งนี้ในร่างมติที่มีการเสนอให้มีการพิจารณา มีเรื่องการเลื่อนแผนบริหารจัดการของเขมรออกไป ซึ่งเป็นไปในแนวทางที่รัฐบาลต้องการ แต่ในร่างมติของยูเนสโกที่เสนอเข้ามา ยอมให้มีการเลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการของเขมรออกไปจริง แต่มีข้อความและข้อกำหนดที่อาจทำให้ไทยเสียเปรียบ
   ทั้งนี้มีการเจรจาล็อบบี้กับสมาชิกมาตลอดตั้งแต่เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน มีการหารือกันมาตลอด แต่ก็เห็นได้ชัดว่ายูเนสโกพยายามผลักดันแผนตัวเอง ประเด็นสำคัญที่ฝ่ายไทยรับไม่ได้คือ แผนบูรณะตัวปราสาทพระวิหาร ซึ่งในแผนที่ยูเนสโกเสนอได้ระบุเรื่องการเข้ามาในพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ในอธิปไตยของไทย อยู่นอกเหนือจากตัวปราสาทพระวิหาร ขณะเดียวกันพื้นที่รอบตัวปราสาทกัมพูชาก็ได้ยึดครองบางส่วน เป็นพื้นที่ที่ยังไม่มีข้อยุติชัดเจนว่าแนวเขตแดนอยู่ตรงไหน
   ก่อนหน้านี้ฝ่ายไทยยังได้นำโมเดลของทางทหารไปชี้แจง เพื่อให้เห็นสภาพที่เกิดขึ้นว่า ถ้าหากมีการขึ้นทะเบียนและรับรองแผนบริหารจัดการของกัมพูชาจะนำไปสู่ความขัดแย้งมากยิ่งขึ้น
   นายสุวิทย์ยังย้ำว่า หากไทยลาออกจากคณะกรรมการมรดกโลกแล้ว ผลใดๆ ก็ตามที่เกิดขึ้นจากการกระทำของสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลกก็จะไม่มีผลผูกพันต่อประเทศไทย หมายความว่า ทางคณะกรรมการมรดกโลกจะให้กัมพูชาเข้าดำเนินกิจกรรมใดๆ ที่เป็นการรุกล้ำเข้ามาในดินแดนของไทยไม่ได้เป็นอันขาด หากว่ามีการประกาศขึ้นทะเบียนพระวิหารเป็นมรดกโลก และยอมรับแผนการจัดการพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารของกัมพูชา บางส่วนที่รุกล้ำเข้ามาในฝ่ายไทยนั้น ต้องมีการขออนุญาตรัฐบาลไทยก่อน จะกระทำการใดๆ ไม่ได้ เนื่องจากไทยไม่ได้อยู่ภายใต้อำนาจของคณะกรรมการมรดกโลก และไม่มีผลผูกพันใดๆ
   นายสุวิทย์ กล่าวอีกว่า การตัดสินใจลาออกในครั้งนี้ ได้ไตร่ตรองและผ่านการศึกษาอย่างรอบคอบ รวมถึงได้โทรศัพท์พูดคุยกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี รับทราบการตัดสินใจและเห็นว่ารัฐบาลไทยไม่มีทางเลือกในการลาออกจากกรรมการมรดกโลกครั้งนี้ ซึ่งจะเดินทางกลับถึงประเทศไทยในช่วงเช้าวันที่ 27 มิถุนายนนี้