พระสังฆราชฌัง-บัปติสต์ ปัลเลอกัวซ์

พระสังฆราชฌัง-บัปติสต์ ปัลเลอกัวซ์ 

พระสังฆราชฌัง-บัปติสต์ ปัลเลอกัวซ์ (Bishop Jean-Baptiste Pallegoix)
นับเป็นผู้มีคุณูปการอย่างมากต่อประเทศสยาม ด้วยเป็นผู้มีความรู้ทางด้านภาษาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ดาราศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ การชุบแร่โลหะ วิชาไฟฟ้าและวิชาถ่ายรูป โดยส่วนใหญ่เกิดจากการอ่านตำรับตำราและทดลองทำด้วยตนเองจนประสบผลสำเร็จ แล้วท่านได้นำเอาวิทยาการแผนใหม่เหล่านี้เข้ามาเผยแพร่ในเมืองไทยสมัยต้น กรุงรัตนโกสินทร์ ส่งผลให้ชาวสยามได้นำเอาความรู้เหล่านี้มาใช้ในการพัฒนาประเทศของตนให้มี ความศิวิไลซ์ (Civilization) เทียมเท่านานาอารยประเทศ
    พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ ถือกำเนิดที่เมืองกอมแบรโตลท์ (Combertault) จังหวัดโกต-ดอร์ (C?te-d’Or) ในแคว้นบูร์กอญ (Bourgogne) ทางฝั่งตะวันออกของประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม ค.ศ. ๑๘๐๕ (พ.ศ. ๒๓๔๘)ท่านได้เข้ารับการอบรมสำหรับเตรียมตัวเป็นพระสงฆ์ที่บ้านเณรใหญ่ใน เมืองลียง (Lyon) ขณะอายุได้ ๑๗ ปี แล้วมาเป็นอาจารย์สอนเทววิทยาของบ้านเณรซัมเบรีใน ค.ศ. ๑๘๒๔ (พ.ศ. ๒๓๖๗) โดยท่านได้อาศัยเวลาช่วงพักร้อนในห้อง ค.ศ. ๑๘๒๖ (พ.ศ. ๒๓๖๙) เขียนประวัติย่อของนักบุญฟรังซัวส์ ซาเวียร์ (Saint Francois Xavier) ผู้เผยแผ่พระคริสต์ศาสนาท่านแรกของคณะมิสซังคาทอลิกในดินแดนตะวันออกไกล 
     เมอซิเยอร์ปัลเลอกัวซ์ได้ย้ายมาอยู่ที่สามเณราลัยคณะมิสซังต่างประเทศ แห่งกรุงปารีส (S?minaire des Missions ?trang?res de Paris หรือนิยมเรียกอย่างย่อว่า M.E.P.) บนถนนบัค (Rue de Bac) เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๘๒๗ (พ.ศ. ๒๓๗๐) และท่านได้รับศีลบรรพชาเป็นพระในพระคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก ในวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๘๒๘ (พ.ศ. ๒๓๗๑) ขณะอายุได้ ๒๓ ปี โดยทางคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสได้มอบหมายให้บาทหลวงปัลเลอกัวซ์และ บาทหลวงแดส์ชาวานส์ (M. Deschavanes) เป็นธรรมทูตเดินทางไปเผยแผ่พระคริสต์ศาสนายังกรุงสยาม
     บาทหลวงปัลเลอกัวซ์และบาทหลวงแดส์ชาวานส์ ออกเดินทางจากท่าเรือเมืองฮาฟร์ (Havre) ในวันที่ ๓๑ สิงหาคมศกเดียวกันนั้น โดยมาพักอยู่ที่เมืองมาเก๊า (Macao) เป็นเวลานานหลายเดือนจึงเดินทางต่อมายังเมืองสิงคโปร์ (Singapore) แล้วค่อยเดินทางเข้ามาถึงกรุงเทพฯ ในต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์พ.ศ. ๒๓๖๗-๙๔) เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๘๓๐ (พ.ศ. ๒๓๗๓) ขณะอายุได้ ๒๕ ปี บาทหลวงปัลเลอกัวซ์ได้มาพำนักอยู่ที่วัดอัสสัมชัญ (Assumption Church) ตำบลบางรัก ในขณะนั้นท่านยังไม่รู้ภาษาไทยเลยแม้แต่คำเดียว จึงลงทุนลงแรงเรียนรู้ภาษาไทยอยู่หลายเดือน จึงค่อยเริ่มต้นทำงานเผยแผ่พระคริสต์ศาสนาในหมู่พวกนอกรีต (gentile) ชาวจีน






     แต่ด้วยความที่บาทหลวงปัลเลอกัวซ์เป็นคนหนุ่มไฟแรง ก็เห็นว่าทำงานมิสซังที่เมืองบางกอกไร้ซึ่งชีวิตชีวาและไม่มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ใดๆ ในการเผยแผ่พระธรรมคำสอน จะเป็นก็แต่เพียงรักษาวัดเดิมไว้เท่านั้น ท่านจึงไม่ใคร่อยากจะสอนสามเณรพื้นเมืองอยู่ที่เมืองบางกอก จึงขออนุญาตมงเซเญอร์แอ็สปรีต์ ยอแซฟ มารี ฟลอรังส์ (Monseigneur Esprit Joseph Marie Florens) พระสังฆรา ชแห่งเมืองโสโซโปลิส (Bishop of Sozopolis พ.ศ. ๒๓๕๔-๗๗) ย้ายไปทำงานมิสซังอยู่ยังเมืองกรุงเก่า (พระนครศรีอยุธยา) เพราะสถานที่แห่งนั้นยังไม่มีบาทหลวงคาทอลิกเลยแม้แต่คนเดียว ตั้งแต่เมื่อครั้งเสียกรุงพระนครศรีอยุธยาให้แก่กองทัพพม่าใน ค.ศ. ๑๗๖๗ (พ.ศ. ๒๓๑๐) ส่งผลให้ชาวคริสตัง (Chr?tien) ที่เมืองกรุงเก่ามีสภาพชีวิตค่อนข้างย่ำแย่ทั้งทางด้านวัตถุและจิตใจ
     พระสังฆราชฟลอรังส์จึงได้ซื้อที่ดินของหมู่บ้านคริสตังดั้งเดิม ที่ตำบลหัวรอกลับคืนมาใน ค.ศ. ๑๘๓๑ (พ.ศ. ๒๓๗๔) บาทหลวงปัลเลอกัวซ์ก็ลงมือสร้างโบสถ์หลังใหม่ลงบนรากฐานเดิมของวัดนักบุญยอ แซฟ (Saint Joseph Church) เพราะโบสถ์หลังเก่าถูกเพลิงเผาผลาญจนกลายเป็นเถ้าถ่านมาตั้งแต่ครั้งเสีย กรุงพระนครศรีอยุธยา
       แต่จากการที่บาทหลวงปัลเลอกัวซ์ฝ่าฝืนคำสั่งของทางการสยาม ที่ไม่อนุญาตให้ชาวต่างชาติเดินทางออกนอกเขตพระนคร และยังละเมิดกฎหมายด้วยการนำเอาครูสอนพระคริสต์ธรรมและพวกคริสตังเ ดินทางไปรวมตัวกันอยู่ที่เมืองกรุงเก่า สำหรับการรื้อฟื้นกลุ่มคริสตังขึ้นมาใหม่ จึงถูกขัดขวางจากขุนนางหัวเก่าที่หวาดระแวงในตัวท่าน แม้ก่อนหน้านี้บาทหลวงปัลเลอกัวซ์จะได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้วก็ตาม ส่งผลให้โบสถ์วัดนักบุญยอแซฟมาแล้วเสร็จเอาในค.ศ. ๑๘๔๔ (พ.ศ. ๒๓๘๗) และกว่าจะทำพิธีเสกก็ล่วงเข้าปี ค.ศ.๑๘๖๗ (พ.ศ. ๒๔๑๐)
     ในห้วง ค.ศ. ๑๘๓๔ (พ.ศ. ๒๓๗๗) บาทหลวงปัลเลอกัวซ์ได้ตระเวนไปตามหมู่บ้านต่างๆ ในเขตเ มืองลพบุรี เพื่อสั่งสอนพระคริสต์ธรรมในหมู่ชาวลาว แต่ท่านกลับถูกข้าราชการท้องถิ่นของเมืองลพบุรีจับมาคุมขังไว้ในคุกถึง ๒ วัน แล้วจึงถูกนำตัวไปพิจารณาคดียังเมืองพรหมตามข้อกล่าวหาของเจ้าเมืองลพบุรี ท่านเดินทางมาถึงเมืองพรหมด้วยร่างกายอ่อนล้าจากความหิวโหย แต่ในที่สุดบาทหลวงปัลเลอกัวซ์ก็ได้รับการปล่อยตัว เพราะเจ้าเมืองพรหมเห็นว่าท่านเป็นเพียงนักบวชต่างชาติคนหนึ่งเท่านั้นหาได้ มีอันตรายต่อรัฐบาลสยามแต่อย่างใดไม

พระสังฆราชแห่งเมืองมัลลอส     เดิมการทำงานเผยแผ่พระคริสต์ศาสนา ในเขตการปกครองมิสซังสยามมักจะพบกับอุปสรรคอยู่เสมอ ภายหลังจึงค่อยมีผลการทำงานที่ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยของ มงเซ เญอร์อาร์โนด์ อังตวน การ์โนลต์ (Mgr. Arnaud Antonine Garnault) พระสังฆราชแห่งเมืองเมโทลโลโปลิส (Bishop of Metellopolis พ.ศ. ๒๓๒๙-๕๔)
     แต่ความที่มิสซังสยาม มีอาณาเขตปกครองครอบคลุมเป็นบริเวณกว้างใหญ่ไพศาล โดยรวมเนื้อที่ของประเทศสยาม เมืองทวาย เกาะปีนัง เมืองสิงคโปร์ เมืองมะละกาและเกาะสุมาตรา ส่งผลให้มีพวกบาทหลวงและชาวคริสตังจำนวนเพิ่มมากขึ้นกว่าแต่ก่อน กอปรกับการที่ยังไม่มีการแบ่งงานอย่างเป็นระบบมากนัก ย่อมไม่เป็นผลดีต่อมิสซังสยามในอนาคต
     เมื่อมงเซเญอร์ฌัง-ปอล ฮิแลร์ มิเชล กูรเวอซี (Mgr. Jean-Paul-Hilaire-Michel Courvezy) ได้รับการอภิเษกเป็นพระสังฆราชแห่งเมืองบีดา (Bishop of Bida พ.ศ. ๒๓๗๗-๘๔) แทนพระสังฆราชฟลอรังส์ที่มรณภาพใน ค.ศ. ๑๘๓๔ (พ.ศ. ๒๓๗๗) ทางสมณกระทรวงเผยแผ่ความเชื่อก็ได้มอบหมายให้พระสังฆราชกูรเวอซี เจ้าคณะเขตเผยแผ่พระคริสต์ศาสนาประจำประเทศสยามคนใหม่ จัดเตรียมการแบ่งแยกมิสซังสยามออกเป็น ๒ เขต โดยท่านพระสังฆราชได้ขอให้ทางสำนักวาติกันอนุมัติแต่งตั้งอุปสังฆราช หรือผู้ช่วยเจ้าคณะเขตเผยแผ่พระคริสต์ศาสนาประจำประเทศสยามขึ้นใหม่อีก ตำแหน่งหนึ่ง สำหรับดูแลพระคริสตจักรในกรุงสยามเป็นกรณีพิเศษ
     ในปีเดียวกันนี้ พระสังฆราชกูรเวอซีเห็นว่าวัดซางตาครู้ส (Sainte Croix Church) หรือวัดกุฎีจีนทางฝั่งธนบุรีมีสภาพผุพังดูคล้ายกับโรงเก็บของ และภายในมีสภาพชื้นแฉะ พระแท่นก็กลายเป็นที่อยู่อาศัยของพวกอสรพิษ จึงเรียกตัวบาทหลวงปัลเลอกัวซ์กลับมาเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างโบสถ์หลังใหม่ จนแล้วเสร็จ ซึ่งท่านพระสังฆราชได้ทำพิธีเสกเมื่อวันที่ ๑ กันยายน ค.ศ. ๑๘๓๕ (พ.ศ. ๒๓๗๘)
     การที่บาทหลวงปัลเลอกัวซ์ มุมานะทำงานอย่างหนักทำให้ล้มป่วยลงด้วยโรคปอดอักเสบใน ค.ศ. ๑๘๓๔ (พ.ศ. ๒๓๗๗) จึงเดินทางไปรักษาตัวที่เมืองสิงคโปร์เป็นระยะเวลานานกว่า ๖ เดือน ด้วยความที่ท่านเป็นผู้ใฝ่รู้ในวิชาภาษาศาสตร์ หลังจากสั่งสมประสบการณ์จนมีความรู้ความชำนาญในภาษาไทยเป็นอย่างดีไม่แพ้นัก ปราชญ์ชาวสยาม จึงอาศัยช่วงเวลาในการพักฟื้นจากอาการป่วยเตรียมเรียบเรียงพจนานุกรม ๔ ภาษา (ไทย-ฝรั่งเศส-อังกฤษ-ลาติน) และคำอ่านที่ท่านสะสมมาเป็นจำนวนมากกว่า ๒๕,๐๐๐ คำแล้ว
     เมื่อบาทหลวงปัลเลอกัวซ์ เดินทางกลับมาจากรักษาอาการป่วยที่เมืองสิงคโปร์ใน ค.ศ. ๑๘๓๕ (พ.ศ. ๒๓๗๘) พระสังฆราชกูรเวอซีก็ได้แต่งตั้งท่านเป็นอุปสังฆราชเมื่อวันที่ ๓ มิถุนา ยน ค.ศ. ๑๘๓๖ (พ.ศ. ๒๓๗๙) มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลมิสซังสยาม ส่วนตัวท่านพระสังฆราชเองนั้นมีแผนที่จะอพยพย้ายไปประจำอยู่ที่เมือง สิงคโปร์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางแห่งใหม่ของคณะมิสซังสยาม
     อุปสังฆราชปัลเลอกัวซ์ ได้ย้ายมาเป็นพระอธิการอยู่ที่วัดคอนเซ็ปชัญ (Immaculate Conception Church) หรือวัดพระแม่ปฏิสนธินิรมล (วัดบ้านเขมร) ตำบลสามเสน ท่านได้พยายามทะนุบำรุงวัดแห่งนี้ให้เจริญรุดหน้าขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้พวกเข้ารีตมาสวดภาวนาที่วัดมากขึ้น เมื่อท่านเห็นว่าโบสถ์แห่งนี้คับแคบเกินไป จึงลงมือสร้างโบสถ์หลังใหม่แทนโบสถ์หลังเก่าที่สร้างด้วยไม้ โดยกระทำพิธีเสกเมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๘๓๗ (พ.ศ. ๒๓๘๐)
     ครั้นวันที่ ๓ มิถุนายน ค.ศ. ๑๘๓๘ (พ.ศ. ๒๓๘๑) พระสังฆราชกูรเวอซีได้ประกอบพิธีอภิเษกอุปสังฆราชปัลเลอกัวซ์ ให้ดำรงตำแหน่งสมณศักดิ์เป็นพระสังฆราชแห่งเมืองมัลลอส (Bishop of Mallos พ.ศ. ๒๓๘๔-๒๔๐๕) เพื่อปกครองดูแลคณะมิสซังในกรุงสยามเป็นกรณีพิเศษ ณ วัดคอนเซ็ปชัญ
     ในศกเดียวกันนั้น พระสังฆราชกูรเวอซีเห็นว่าโบสถ์ไม้หลังเก่าของวัดกาลหว่าร์ (Calvaire Church) ที่ตำบลตลาดน้อย ผุพังตามกาลเวลาจนไม้สามารถซ่อมแซมได้แล้ว จึงมอบหมายให้พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ ดำเนินการสร้างโบสถ์หลังใหม่ขึ้นแทนโบสถ์หลังเก่า
     แต่เดิมที่ดินของวัดกาลหว่าร์เป็นของพวกคริสตังโปรตุเกส กงสุลโปรตุเกสจึงยื่นเรื่องต่อรัฐบาลสยาม เพื่อขอให้โอนที่ดินผืนนี้ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐบาลโปรตุเกสแต่รัฐบาลสยาม แจ้งกลับมาว่า ที่ดินแปลงนี้ได้ยกให้แก่มิสซังโรมันคาทอลิก ไม่ได้ยกให้เป็นสิทธิแก่รัฐบาลโปรตุเกส เรื่องจึงเงียบไป เมื่อพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์สร้างโบสถ์หลังใหม่เสร็จแล้ว จึงได้ทำพิธีเสกเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ค.ศ. ๑๘๓๙ (พ.ศ. ๒๓๘๒) โดยตั้งชื่อเสียใหม่ว่า วัดแม่พระลูกประคำ ส่งผลให้พวกโปรตุเกสพึงพอใจเป็นอย่างมาก เพราะรูปแม่พระลูกประคำของพวกตนได้รับเกียรติให้เป็นองค์อุปถัมภ์ของวัดแห่ง นี้
     ในห้วง ค.ศ. ๑๘๔๑ (พ.ศ. ๒๓๘๔) พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ ได้สร้างสถานอบรมคริสตังทั้งวิทยาลัยและบ้านเณรใหญ่ขึ้นในคณะมิสซังคาทอลิก ของตน ตามพระบัญชาของสมเด็จพระสันตะปาปาที่ทรงกำชับกำชาไว้อย่างแข็งขันเรื่อยมา ทุกพระองค์ โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรม ราชโองการ สั่งห้ามมิให้พวกบาทหลวงส่งนักเรียนคริสตังไปศึกษาพระคริสต์ธรรมยังเกาะ ปีนัง เหมือนอย่างแต่ก่อนมาด้วยอีกประการหนึ่ง
     ในสมณโองการยูนีแวรซี ดอมีนีซี (Universi Dominici) จากกรุงโรม ลงวันที่ ๑๐ กันยายน ค.ศ. ๑๘๔๑ (พ.ศ. ๒๓๘๔) ได้แบ่งแยกเขตการปกครองของคณะมิสซังสยามออกเป็น ๒ เขต คือ มิสซังสยามตะวันออกซึ่งนิยมเรียกว่า มิสซังสยาม ได้แก่ ประเทศสยามและลาว โดยมีพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์เป็นผู้แทนขององค์สมเด็จพระสันตะปาปา (Apostolic Vicar) ประจำอยู่ที่กรุงเทพฯ และมิสซังสยามตะวันตก ซึ่งนิยมเรียกว่า มิสซังมะละกา ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย เมืองมะละกา เกาะปีนัง เกาะสุมาตรา และเมืองทวาย โดยมีพระสังฆราชกูรเวอซีเป็นผู้แทนองค์สมเด็จพระสันตะปาปาประจำอยู่ที่เมือง สิงคโปร์ ซึ่งเป็นผลดีต่อคณะมิสซังสยามอยู่มิใช่น้อย เพราะทำให้การทำงานคล่องตัวมากยิ่งขึ้น และสามารถทุ่มเทกำลังทรัพย์สำหรับการขยายเขตงานเผยแผ่พระคริสต์ธรรมออกไปได้ อย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน นับแต่นั้นมาพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ก็ได้เป็นเจ้าคณะเขตประจำประเทศสยามแต่ เพียงผู้เดียว
     ครั้น ค.ศ. ๑๘๔๓ (พ.ศ. ๒๓๘๖) พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ได้ย้ายไปเป็นพระอธิการอยู่ที่วัดอัสสัมชัญ เมื่อท่านเห็นว่าบาทหลวงมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นแล้ว ก็เห็นเป็นโอกาสเหมาะสมที่จะสถาปนาคณะมิสซังขึ้นในบรรดาหัวเมืองประเทศราช ของกรุงสยาม จึงส่งบาทหลวงฌัง-บัปติสต์ กรังด์ฌัง (M. Jean-Baptiste Grandjean) และบาทหลวงวาชาล (M. Vachal) เดินทางไปสำรวจยังราชอาณาจักรเชียงใหม่ แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ท่านจึงยกเลิกโครงการนี้เสีย
     แม้พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ จะได้พยายามส่งบาทหลวงคาทอลิกเดินทางไปเผยแผ่พระคริสต์ธรรมยังหัวเมืองอัน ห่างไกลของกรุงสยามอยู่มิได้ขาด แม้จะต้องประสบกับความล้มเหลวอยู่เป็นนิจ เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในยุคนั้นยังไม่เอื้ออำนวยมากนัก แต่ท่านก็ยังมุ่งมั่นในการทำงานเผยแผ่พระคริสต์ธรรมต่อไป โดยมิได้รู้สึกท้อแท้ใจแต่ประการใด
     ใน ค.ศ. ๑๘๔๔ (พ.ศ. ๒๓๘๗) พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ ได้ย้ายมาเป็นพระอธิการอยู่ที่วัดคอนเซ็ปชัญซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับวัดราชา ธิวาส (วัดสมอราย) โดยมีเพียงลำคลองแคบๆขวางกั้นกลางเท่านั้น อันเป็นพุทธสถานที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๓๙๔-๒๔๑๑)เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎทรงผนวช เป็นพระภิกษุจำพรรษาอยู่ ณ วัดแห่งนี้
     ด้วยความที่เจ้าฟ้ามงกุฎทรงสนพระทัยใฝ่รู้ในวิทยาการแผนใหม่ของฝรั่งตะวันตก เมื่อพระองค์ทรงทราบกิตติศัพท์ถึงความรอบรู้ของพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ ก็มีรับสั่งให้นายเกิดมหาเล็กไปเชิญพระสังฆราชมาเข้าเฝ้า แล้วตรัสขอให้ท่านช่วยสอนสรรพวิทยาการของชาติตะวันตกแก่พระองค์ ได้แก่ วิชาภูมิศาสตร์ ดาราศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ ภาษาอังกฤษ และภาษาละติน ซึ่งท่านพระสังฆราชก็ยินดีถวายพระอักษรให้ตามพระประสงค์ โดยพระองค์ทรงสอนภาษาไทย ภาษาบาลี พระพุทธศาสนา และพงศาวดารสยามให้เป็นการตอบแทนแก่พระสังฆราช จากการพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันนี้ ได้ก่อให้เกิดมิตรภาพอันแน่นแฟ้นระหว่างนักปราชญ์ทั้งสองขึ้น จึงเป็นเหตุให้พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ กลายมาเป็นพระสหายสนิทสนมยิ่งของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
     ครั้น ค.ศ.๑๘๔๕(พ.ศ.๒๓๘๘)พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ได้สร้างสำนักพระสังฆราชขึ้นใหม่ แทนบ้านหลังเดิมที่มุงหลังคาด้วยหญ้าแฝกและในห้วง ค.ศ.๑๘๔๘-๔๙ (พ.ศ. ๒๓๙๑-๙๒) ท่านพระสังฆราชก็ได้สร้างอารามสำหรับภคินีชาวญวนขึ้นในเมืองบางกอกตามที่ ตั้งใจไว้แต่เดิม

แรกมีวิชาถ่ายรูปในกรุงสยาม     พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ถือเป็นบุคคลแรกที่สั่งซื้อกล้องถ่ายรูปแบบดาแกร์ (Daguerreotype)จากประเทศฝรั่งเศสเข้ามาในกรุงสยาม โดยมอบหมายให้บาทหลวงอัลแบรต์ อัลบรางด์ (M.Albert Albrand) ซึ่งพำนักอยู่ในกรุงปารีส รับเป็นธุระจัดซื้อ แล้วฝากให้บาทหลวง ฌัง-บัปติสต์ ฟรังซัวส์ หลุยส์ ลาร์โนดี (M.Jean-Baptiste Francois Louis Larenaudie) เป็นผู้นำเข้ามายังเมืองบางกอกเมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๘๔๕ (พ.ศ. ๒๓๘๘)
     เดิมทีพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ยังถ่ายรูปด้วยกล้องระบบดาแกโรไทป์ไม่เป็น เนื่องจากท่านเดินทางมาพำนักอยู่ยังกรุงสยาม ตั้งแต่ ค.ศ. ๑๘๓๐ (พ.ศ. ๒๓๗๓) ส่วนวิชาการถ่ายรูปแบบดาแกร์ เพิ่งถือกำเนินขึ้นในกรุงปารีสอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. ๑๘๓๙ (พ.ศ. ๒๓๘๒) ท่านจึงไม่มีโอกาสได้เรียนรู้วิชาการถ่ายรูปดังกล่าว  จึงต้องทดลองถ่ายรูปด้วยกล้องแบบดาแกร์ร่วมกับบาทหลวงลาร์โนดีอยู่นานสามสี่ วัน จึงสามารถถ่ายรูปได้สำเร็จสมดังประสงค์ เป็นครั้งแรกในกรุงสยาม เมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. ๑๘๔๕ (พ.ศ. ๒๓๘๘)




วัดอัสสัมชัญ ตำบลบางรัก ภาพวาดลายเส้นจากบางกอก(Bangkok) ของ M. Lucien Fournereau ชาวฝรั่งเศส ตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1894 (พ.ศ. 2437)

     โดยอาศัยการเปิดตำราการถ่ายรูปที่ส่งมาพร้อมกับกล้องถ่ายรูป และส่วนหนึ่งท่านพระสังฆราชอาจได้รับการสอนจากบาทหลวงลาร์โนดี ซึ่งเข้าใจว่าท่านผู้นี้น่าจะเคยพบเห็นวิธีการถ่ายรูปมาบ้างแล้วระหว่าง พำนักอยู่ในกรุงปารีส ด้วยเหตุนี้บาทหลวงลาร์โนดี ถือเป็นบุคคลแรกที่นำเอาวิชาการถ่ายรูปเข้ามาเผยแพร่ในกรุงสยามเป็นคราวแรก


พจนานุสรณ์     พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ เป็นผู้มีความมุ่งมาดปรารถนาที่จะเผยแผ่พระคริสต์ธรรม คำสอน ให้ได้ผลดีในหมู่คริสตังชาวสยาม แต่กลับพบว่าหนังสือเกี่ยวกับพระคริสต์ศาสนาในกรุงสยามมีอยู่น้อยเต็มที ส่วนใหญ่เรียงเรียงขึ้นโดยบาทหลวงคาทอลิกรุ่นก่อนๆ ซึ่งนักเรียนคริสตังได้คัดลอกต่อๆ กันมาด้วยความยากลำบาก และสิ้นเปลืองเวลาสำนวนโวหารก็เก่าคร่ำครึล้าสมัยไม่ถูกต้อง จึงตัดสินใจสร้างตึกทำเป็นโรงพิมพ์ขึ้นภายในวัดอัสสัมชัญ สำหรับพิมพ์หนังสือคำสอนพระคริสต์ธรรม หนังสือสวดมนต์ หนังสือประวัติความเป็นมาของพระคริสต์ศาสนา ชีวประวัติของนักบุญ บทภาวนา และเพลงสวดในโบสถ์สำหรับแจกจ่ายให้แก่พวกเข้ารีตนำไปอ่าน โดยพิมพ์ตัวหนังสือด้วยอักษรยุโรป นอกจากนี้ท่านพระสังฆราชยังพิมพ์หนังสือบางเล่มด้วยอักษรไทย เพื่อหักล้างคติความเชื่อทางพระพุทธศาสนาของชาวสยาม อันเป็นผลให้พวกนอกรีตน้อมใจเข้ามานับถือศาสนาคริสต์มีจำนวนมากขึ้นกว่าแต่ ก่อน

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอยู่ในชุดฉลองพระองค์ทรงศีล
ในวันอุโบสถทรงประทานธรรมแก่ราชพุทธบริษัทฝ่ายในเมื่อราวพ.ศ. 2410
ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติธีฝังศะ หอจดหทายเหตุแห่งชาติ



     ใน ค.ศ. ๑๘๔๖ (พ.ศ. ๒๓๘๙) พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ได้พิมพ์หนังสือ “ปุจฉา วิสัชนา” โดยวิพากษ์วิจารณ์พระพุทธศาสนาของชาวสยามอย่างรุนแรง เช่น พระพุทธศาสนามิใช่ศาสนาที่มีใจความถูกต้อง,องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ควรถูกพิจารณาเป็นที่พึ่งซึ่งจะช่วยเหลือได้,คำสอนของศาสนาพุทธเกี่ยวกับ บาปบุญคุณโทษและนรกสวรรค์นั้นไม่เป็นความจริง,การกล่าวดูถูกดูแคลนพระสงฆ์ กับนางชี และศีลของศาสนาพุทธว่าไม่มีผู้ใดรักษาได้ ผู้บัญญัติจึงเปรียบเสมือนคนเสียจริต เป็นต้น
     เมื่อหนังสือ
“ปุจฉา วิสัชนา” ถูกนำออกแจกจ่าย ก็กลายเป็นชนวนเหตุให้ชาวพุทธและชาวคริสตังเกิดความบาดหมางใจกันขึ้น ทำให้เกิดความแตกแยกในหมู่ราษฎร ทางการสยามจึงมีคำสั่งให้พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์หยุดเผยแพร่หนังสือเล่มดัง กล่าวนี้เสีย พร้อมกับข่มขู่พวกบาทหลวงว่าหากไม่หยุดแจกจ่ายหนังสือเล่มนี้แล้ว ก็จะถูกจับไปคุมขัง ด้วยเหตุนี้ท่านพระสังฆราชจึงหันมาพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับภาษาศาสตร์แทนในที่ สุด
     หนังสือ
“ไวยากรณ์ภาษาไทย” (Grammatica Linguae Thai) ใช้สำหรับอำนวยความสะดวกในด้านภาษาแก่คณะบาทหลวงชาวฝรั่งเศสในกรุงสยามพิมพ์ ที่โรงพิมพ์โรงเรียนอัสสัมชัญ (Ex Typographi?, Collegii Assumptionis B.M.V. หรือ Assumption College Press) ในกรุงเทพฯ เมื่อ ค.ศ. ๑๘๕๐ (พ.ศ. ๒๓๙๓) มีความหนาทั้งสิ้น ๒๔๑ หน้า นับเป็นพจนานุกรมฉบับแรกของไทยที่ได้รับการตีพิมพ์แทนการเขียนด้วยลายมือ เหมือนอย่างก่อน

   หนังสือ “Dictionatium Latinum Thai, ad usum Missionis Siamensis” เป็นพจนานุกรมละตินและไทย สำหรับใช้ประโยชน์ในการเผยแผ่พระคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกแห่งกรุงสยาม ตีพิมพ์ที่โรงพิมพ์โรงเรียนอัสสัมชัญ (Ex Typ. Coll. Assump. B.M.V.) ในกรุงเทพฯ เมื่อ ค.ศ. ๑๘๕๐ (พ.ศ. ๒๓๙๓)
     หนังสือ
“สัพะพะจะนะพาสาไท” (Dictionarium Linguae Thai sive Siamensis Interpretatione Latina, Gallica Et Anglica) เป็นพจนานุกรม ๔ ภาษา (ไทย-ละติน-ฝรั่งเศส-อังกฤษ) พิมพ์ที่โรงพิมพ์หลวง (Jussu Imperatoris Impressum หรือ Imperial Press) ในกรุงปารีส เมื่อ ค.ศ. ๑๘๕๔ (พ.ศ. ๒๓๙๗) โดยได้รับทุนทรัพย์จากรัฐบาลฝรั่งเศส หลังจากท่านพระสังฆราชได้ใช้เวลาในการเรียบเรียงมาเป็นเวลากว่า ๑๐ ปี มีความหน้าทั้งสิ้น ๘๙๗ หน้า ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีส่วนช่วยเหลือในการแต่ง พจนานุกรมเล่มนี้อยู่มิใช่น้อยเลยทีเดียว
     หนังสือ “English Siamese Vocabulary Enlarged with an Introduction to the Siamense Language and a Supplement : By D.J. Bapt. Pallegoix New Edition” พิมพ์ที่โรงพิมพ์มิสซังคาทอลิก (Catholic Mission Press) ในกรุงเทพฯ เมื่อ ค.ศ. ๑๘๗๗ (พ.ศ. ๒๔๒๐) มีความหนาทั้งสิ้น ๓๕๙ หน้า
     หนังสือ
ศริพจน์ภาษาไทย์” (Siamese French English Dictionary หรือ Dictionnaire Siamois Fran?ais Anglais) อนุโลมว่าผลงานร่วมกันระหว่างพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์และมงเซเญอร์ฌัง หลุยส์ เวย์ (Mgr. Jean Louis Vey) พระสังฆราชแห่งเมืองเยราซา (Bishop of Geraza พ.ศ. ๒๔๑๘-๕๒) เพราะพระสังฆราชเวย์ได้นำหนังสือ “สัพะพะจะนะพาสาไท” ของพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์มาแก้ไขปรับปรุงเสียใหม่ให้เป็นพจนานุกรม ๓ ภาษา (ไทย-ฝรั่งเศส-อังกฤษ) โดยตัดเอาคำแปลภาษาลาตินของเดิมออกไปและได้เพิ่มเติมถ้อยคำต่างๆเข้าไปจาก ที่พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ได้กระทำไว้ ก่อนหน้านี้พิมพ์ที่สำนักงานมิสซังคาทอลิก(Imprimerie de la Mission Catholique หรือ Office of the Catholic Mission) ในกรุงเทพฯ เมื่อ ค.ศ. ๑๘๙๖ (พ.ศ. ๒๔๓๙) มีความหนาทั้งสิ้น ๑,๑๖๕ หน้า
     หนังสือ “Introduction to the Siamese Language” (ไม่ปรากฏสำนักพิมพ์และปีที่พิมพ์) มีความหนาทั้งสิ้น ๒๓๓ หน้า
 





พระสังฆราชปัลเลอร์กัวซ์ เจ้าคณะเขตเผยแพร่พระคริสต์ศาสนา
ประจำประเทศสยาม วาดจากรูปถ่ายระบบดาแกโรไทป์ เก็บรักษาอยู่
ที่ห้องสมุดคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส





พระ สังฆราชเวย์ ผู้นำหนังสือ “สัพะพะจะนะพาสาไท”ของพระสังฆราชปัลเลอร์กัวซ์มาปรับปรุงแก้ไขเสียใหม่เป็น หนังสือ“ศิริพจน์ภาษาไทย” ซึ่งตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2439 ภาพจากอัสสสัมชัญอุโฆษสมัย เล่ม 34 ฉบับเดือนเมษายน พ.ศ. 2466

 หนังสือ “English Siamese Vocabulary Enlarged with an Introduction to the Siamense Language and a Supplement : By D.J. Bapt. Pallegoix New Edition” พิมพ์ที่โรงพิมพ์มิสซังคาทอลิก (Catholic Mission Press) ในกรุงเทพฯ เมื่อ ค.ศ. ๑๘๗๗ (พ.ศ. ๒๔๒๐) มีความหนาทั้งสิ้น ๓๕๙ หน้า


     หนังสือ ศริพจน์ภาษาไทย์” (Siamese French English Dictionary หรือ Dictionnaire Siamois Fran?ais Anglais) อนุโลมว่าผลงานร่วมกันระหว่างพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์และมงเซเญอร์ฌัง หลุยส์ เวย์ (Mgr. Jean Louis Vey) พระสังฆราชแห่งเมืองเยราซา (Bishop of Geraza พ.ศ. ๒๔๑๘-๕๒) เพราะพระสังฆราชเวย์ได้นำหนังสือ “สัพะพะจะนะพาสาไท” ของพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์มาแก้ไขปรับปรุงเสียใหม่ให้เป็นพจนานุกรม ๓ ภาษา (ไทย-ฝรั่งเศส-อังกฤษ) โดยตัดเอาคำแปลภาษาลาตินของเดิมออกไปและได้เพิ่มเติมถ้อยคำต่างๆ เข้าไปจากที่พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ได้กระทำไว้ก่อนหน้านี้ พิมพ์ที่สำนักงานมิสซังคาทอลิก (Imprimerie de la Mission Catholique หรือ Office of the Catholic Mission) ในกรุงเทพฯ เมื่อ ค.ศ. ๑๘๙๖ (พ. ศ. ๒๔๓๙) มีความหนาทั้งสิ้น ๑,๑๖๕ หน้า
     หนังสือ “Introduction to the Siamese Language” (ไม่ปรากฏสำนักพิมพ์และปีที่พิมพ์) มีความหนาทั้งสิ้น ๒๓๓ หน้า


บาทหลวงลาร์โนดี ภาพจาก Le second Empire
en In-doChine ของ Charles Mayniard
พิมพ์ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2434

ความไข้ในกรุงสยาม     เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ค.ศ. ๑๘๔๙ (พ.ศ. ๒๓๙๒) เกิดไข้ป่วงหรืออหิวาตกโรคระบาดอย่างหนักไปทั่วทุกหนทุกแห่งในกรุงสยาม ชาวเมืองบางกอกล้มตายเป็นอันมากแม้แต่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงสูญเสียพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าเฉลิมวงศ์ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจินดา พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าพวงแก้ว ขุนนางชั้นผู้ใหญ่อย่างเจ้าพระยา  บดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สมุหนายก ไปในความไข้ครั้งนี้ พระองค์จึงทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทรงศีล ด้วยการซื้อสัตว์ที่กำลังจะถูกฆ่าเป็นอาหารมาปล่อยเป็นการแก้เคล็ดทุกวัน แล้วยังโปรดเกล้าฯ ให้ป่าวประกาศให้ราษฎรทุกชาติทุกภาษาในกรุงเทพฯ เร่งทำบุญสุนทานไถ่ชีวิตสัตว์โดยเสด็จพระราชกุศล ซึ่งแม้แต่คณะมิสซังฝรั่งเศสก็ได้รับผลกระทบนี้ด้วย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวตรัสขอให้พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ถวาย สัตว์แด่พระองค์ด้วย โดยพระองค์ทรงยืนยันอย่างหนักแน่นว่าจะทรงเลี้ยงสัตว์เหล่านี้ไว้ มิได้ตั้งพระทัยจะเอาไปมอบให้แก่วัดในพระพุทธศาสนาหรือนำไปใช้ในพิธีทางพระ พุทธศาสนาแต่อย่างใดไม่
     พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ได้นำความนี้ไปปรึกษาหารือกับพวกบาทหลวงฝรั่งเศส ซึ่งต่างก็ลงความเห็นว่าพระเจ้าแผ่นดินสยามทรงใคร่จะเลี้ยงสัตว์เหล่านี้ไว้ โดยยึดถือตามคติความเชื่อของชาวสยามเรื่องการไถ่ชีวิตสัตว์เพื่อเป็นการต่อ พระชนมายุสำหรับพระองค์เอง และเกรงว่าถ้าถวายสัตว์ให้ไปตามพระราชประสงค์แล้ว ก็จะเป็นการร่วมมือในการซูแปร์ติซัง (แปลว่า การทำกิจการนอกรีต) ของพวกนอกรีต จึงคัดค้านไม่ให้พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์กระทำการดังกล่าว โดยส่วนตัวของท่านพระสังฆราชเอง แม้จะมีความคิดเห็นต่างไปจากพวกบาทหลวงฝรั่งเศส แต่ท่านก็ยินยอมโอนอ่อนผ่อนตามคำแนะนำของบาทหลวงกลุ่มนี้ ด้วยการตอบปฏิเสธพระราชประสงค์ของพระองค์
     พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวกริ้ว ต่อการตัดสินใจของพวกบาทหลวงฝรั่งเศส กอปรกับการที่พวกบาทหลวงห้ามมิให้พวกเข้ารีตปล่อยสัตว์ตามพระราชประสงค์ ทำให้พระองค์เข้าพระทัยว่า พวกบาทหลวงคงแคลงใจในพระราชดำรัสยืนยันถึงเรื่องที่พระองค์จะไม่ทรงใช้สัตว์ เหล่านี้ไปในการทำพิธีทางพระพุทธศาสนา จึงมีรับสั่งให้จับกุมพวกบาทหลวงฝรั่งเศสทั้งหมด และบังคับให้พวกเข้ารีตละทิ้งศาสนาของตน รวมถึงมีรับสั่งให้ทำลายวัดคริสตังและบ้านพักของพวกบาทหลวงด้วย
     เมื่อพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ทราบข่าวร้ายดังกล่าว ด้วยความที่ท่านพักอาศัยอยู่ในกรุงสยามมาเป็นเวลานาน จึงรู้ซึ้งในขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวสยามเป็นอย่างดี ก็ขอร้องให้พวกบาทหลวงฝรั่งเศสปฏิบัติตามพระกระแสรับสั่ง แต่คำขอร้องของท่านพระสังฆราชกลับสร้างความแตกแยกในคณะมิสซัง โดยพวกบาทหลวงฝรั่งเศสยังคงยืนยันว่า การปล่อยสัตว์ถวายเป็นพระราชกุศลนั้นเป็นสิ่งที่คริสตจักรไม่อนุญาตให้ทำได้ จึงปฏิเสธไม่ยอมกระทำตามคำขอของท่านพระสังฆราช
     แต่พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์กลับเห็นว่า การปล่อยสัตว์ไม่ขัดต่อหลักธรรมของคริสต์ศาสนาแต่อย่างใด จึงตัดสินใจยุติปัญหาความขัดแย้งระหว่างราชสำนักสยามกับคณะมิสซังฝรั่งเศส ด้วยการมอบหมายให้พระยาวิเศษสงครามหัวหน้าพวกคริสตังเป็นตัวแทนของท่านนำเอา ห่าน เป็ด และไก่เข้าไปถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ทรงปล่อยตามพระราช ประสงค์เช่นเดียวกับพระสงฆ์ชาวสยาม แล้วสั่งให้พวกเข้ารีตปล่อยสัตว์ให้หมดทุกคนโดยไม่มีข้อแม้
     แม้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจะโปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกพระบรมราชโองการดังกล่าวแล้ว แต่พระองค์กลับมีคำสั่งให้เนรเทศบาทหลวงฝรั่งเศสทั้ง ๘ คน ที่คัดค้านพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ไม่ให้ปฏิบัติตามพระราชประสงค์ออกนอกราช อาณาจักรสยาม ได้แก่ บาทหลวงออกุสแตง ยอแซฟ ดือปองด์ (M.Augustin Joseph Dupond) บาทหลวงนิโกลาส มารี เลอเกอซ์ (M.Nicolas Marie Lequeux) บาทหลวงกรังด์ฌัง (M.Grandjean) บาทหลวงเคลมังโซ (M.Clemenceau) บาทหลวงยิบาร์ตา (M.Gibarta) บาทหลวงดานีแอล (M.Daniel) บาทหลวงโกลเดต์ (M.Glaudet) และบาทหลวงลาร์โนดี (M.Larenaudie) โดยเดินทางไปพำนักอยู่ยังเมืองสิงคโปร์และเกาะปีนัง คงเหลือแต่พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์และบาทหลวงชาวพื้นเมือง รวมถึงบาทหลวงฌัง-บัปติสต์ รังแฟงก์ (M.Jean-Baptiste Ranfaing) เพราะขณะนั้นท่านพำนักอยู่ที่วัดจันทบูรณ์ ซึ่งอยู่ห่างไกลจากเมืองหลวงจึงไม่มีส่วนรู้เห็นในความขัดแย้งดังกล่าว ท่านพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ก็ได้รายงานกรณีพิพาทความไข้ในกรุงสยามครั้งนี้   ไปยังกรุงโรมให้ได้รับทราบด้วย
     เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ สืบแทนพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเชษฐาธิราชใน ค.ศ. ๑๘๕๑ (พ.ศ. ๒๓๙๔) ครั้นวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พระองค์โปรดเกล้าให้พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์เข้าเฝ้าในพระบรมมหาราชวังอย่าง เป็นทางการ พร้อมทั้งมีรับสั่งให้ท่านพระสังฆราชเรียกตัวบาทหลวงฝรั่งเศสที่ถูกเนรเทศ กลับเข้ามาทำงานเผยแผ่พระคริสต์ธรรมยังกรุงสยามตามเดิม นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างยิ่งต่อคณะมิสซังฝรั่งเศส
 



สมเด็จพระสันตะปาปาปีอุส พระองค์ที่ 9
ครองสมณศักดิ์เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2389
 และสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2421
 สิริพระชนมายุได้ 85 พรรษา


สมเด็จพระจักรพรรดินโปเลียน พระองค์ที่ 3
พระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสผู้มากด้วยพระบารมี
ในภาคพื้นทวีปเอเชีย

สมณทูตสยามเยือนกรุงโรม     หลังจากพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์พำนักอยู่ในประเทศสยามมาเป็นระยะเวลา ๒๔ ปี ก็มีธุระให้ต้องเดินทางกลับไปยังประเทศบ้านเกิดเมืองนอน เพื่อจัดการเกี่ยวกับอาณาประโยชน์บางประการของคณะมิสซังสยามและเยี่ยมเยียน ญาติพี่น้องไปในคราวเดียวกันนี้ด้วย
     ก่อนออกเดินทางไปประเทศฝรั่งเศส พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์และคณะบาทหลวง รวมถึงหัวหน้าคริสตัง ได้เข้าเฝ้าในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๘๕๒ (พ.ศ. ๒๓๙๕) ท่านพระสังฆราชได้รับการเบิกตัวให้เข้าเฝ้าในท้องพระโรง ท่ามกลางหมู่เสนาอำมาตย์ข้าราชบริพารซึ่งเฝ้าหมอบอยู่เบื้องหน้าที่ประทับ พระองค์ทรงพระดำเนินตรงเข้ามาหาพระสังฆราชปัลเลอ กัวซ์ และทรงยื่นพระหัตถ์ให้สัมผัสอย่างฉันมิตรกับบาทหลวงทุกคน แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พวกบาทหลวงนั่งบนเก้าอี้ที่ตั้งอยู่รอบโต๊ะ ซึ่งตั้งพานพระศรีและพระโอสถมวนซิการ์ รวมถึงเครื่องชุดชาและกาแฟ แล้วพระองค์พระราชทานเลี้ยงชากาแฟ แล้วตรัสสนทนาเกี่ยวกับเรื่องพระศาสนาด้วยภาษาไทยบ้าง ภาษาอังกฤษบ้าง ตามแต่โอกาสจะอำนวยเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทราบว่าพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์กำลังเตรียมตัวจะเดินทางกลับไปยังประเทศ ฝรั่งเศส และอาจถือโอกาสเข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปาที่กรุงโรมด้วย พระองค์ทรงโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง เนื่องด้วยมีพระราชหฤทัยระลึกถึงความสัมพันธ์ครั้งเก่าก่อนระหว่างกรุงสยาม และกรุงโรมเป็นสำคัญ
     แต่ด้วยเหตุที่พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ ตั้งใจออกเดินทางในวันนั้นเอง จึงกราบบังคมทูลว่า หากพระองค์จะทรงฝากพระราชหัตถเลขาไปถวายแก่สมเด็จพระสันตะปาปาก็ขอให้ทรง กระทำในเวลานี้เลย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระอักษรเป็นภาษาอังกฤษด้วยลายพระ หัตถ์ของพระองค์เอง ลงวันที่ ๘ มีนาคม ค.ศ. ๑๘๕๒ แล้วประทับตราประจำพระองค์ สำหรับเป็นพระราชสาสน์พระราชทานไปถึงสมเด็จพระสันตะปาปาปีอุส พระองค์ที่ ๙ (Pope Pius IX ครองสมณศักดิ์ พ.ศ. ๒๓๗๔-๘๙) โดยพระองค์ทรงพระกรุณาพระราชทานเงินจำนวนหนึ่งใช้สำหรับเป็นค่าเดินทางแก่ ท่านพระสังฆราชด้วย
     ในพระราชสาสน์ฉบับที่ ๒ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานไปถึงสมเด็จพระสันตะปาปาปี อุส พระองค์ที่ ๙ ลงวันพฤหัสบดี เดือนห้า ขึ้น ๙ ค่ำ จ.ศ. ๑๒๒๓ (พ.ศ. ๒๔๐๔) โดยฝากไปกับคณะทูตของพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาธิบดี (แพ บุนนาค) ซึ่งเดินทางไปเจริญพระราชไมตรียังราชสำนักฝรั่งเศส คณะทูตสยามชุดนี้ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระจักรพรรดินโปเลียน พระองค์ที่ ๓ (Emperor Napoleon III ครองราชย์ พ.ศ. ๒๓๙๔-๒๔๑๓) ณ พระราชวังฤดูร้อนฟองแตนโบล (Fontainebleau) เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ค.ศ. ๑๘๖๑ (พ.ศ. ๒๔๐๔) แล้วจึงเดินทางต่อไปยังกรุงโรม และมีโอกาสได้เข้าเฝ้าองค์สมเด็จพระสันตะปาปาในต้นเดือนตุลาคม ความตอนหนึ่งกล่าวย้อนกลับไปถึงเหตุการณ์เมื่อครั้งพระองค์ทรงมอบหมายให้พระ สังฆราชปัลเลอกัวซ์เป็นสมณทูตนำพระราชสาสน์ไปยังกรุงโรมในห้วง ค.ศ. ๑๘๕๒ (พ.ศ. ๒๓๙๕) ความว่า
  
“...เมื่อ กรุงสยาม [พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว – ผู้เขียน] ยังไม่ได้บรมราชาภิเษกเป็นพระเจ้าแผ่นดินนั้น ได้รู้จักรักใคร่ชอบพอคุ้นเคยกับบาทหลวงยวงบาบติศ [พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ –ผู้เขียน] ซึ่งได้ตั้งแต่งมาแต่ซางตูซปาปาเกรกอรีที่ ๑๖ [สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรี พระองค์ที่ ๑๖ ครองสมณศักดิ์ พ.ศ. ๒๓๗๔-๘๙) ให้เป็นบิจฉบสำหรับเมืองว่าที่แทนอปอศตอลออยู่ในกรุงเทพมหานครนี้ เพื่อเป็นประธานจะอนุเคราะห์สั่งสอน และทำนุบำรุงศาสนาโรมันกาธอลิกคริสตางในแผ่นดินสยามนี้นั้นมานาน ครั้นเมื่อกรุงสยามได้บรมราชาภิเษกเป็นเจ้าแผ่นดินแล้ว ก็ได้ยอมให้บาทหลวงยวงบาบติศบิจฉบเมืองแมลอศนั้นไปสู่มาหาอยู่เนืองมิได้ขาด ครั้นล่วงมาแต่เวลาที่กรุงสยามได้ตั้งอยู่ในราชสมบัตินั้นได้ปีเศษเป็นปีที่ สอง บาทหลวงยวงบาบติศบิจฉบเมืองแมลอศนั้นเข้ามาลากรุงสยาม ว่าจะไปเยี่ยมเยียนเมืองฝรั่งเศสซึ่งเป็นชาติภูมิ แล้วว่าถ้าได้ช่องโอกาสจะแวะไปเฝ้าบังคมบาทท่านผู้บิดาบริสุทธิ์ ณ เมืองโรมด้วย กรุงสยามได้ทราบดังนี้ จึงได้รำพึงคิดว่า พระเจ้าแผ่นดินกรุงสยามทุกๆ พระองค์สืบมานาน หาได้เป็นศัตรูแก่ศาสนาต่างๆ ของชนที่อยู่ในพระราชอาณาจักรนี้ไม่เลย ถึงศาสนาชนต่างๆ จะถือไม่ถูกต้องกันกับพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นของดำรงสำหรับพระนครเป็นที่เชื่อของพระเจ้าแผ่นดินทุกพระองค์นั้นก็ ดี ก็ย่อมทำนุบำรุงให้คนทั้งปวงที่เชื่ออยู่ในศาสนานั้นๆ ได้ทำตามความเชื่อและสั่งสอนผู้อื่นไปตามความรู้ว่าโดยวิเศษไม่ได้เป็นศัตรู แก่ศาสนาคริสตางเหมืองอย่างเจ้าแผ่นดินจีน เจ้าแผ่นดินญวนและอื่นๆ กฎหมายอย่างธรรมเนียมดังนี้ กรุงสยามเห็นว่ากฎหมายอันดี เป็นที่เย็นอกของชนในพระราชอาณาจักรทั้งสิ้น เพราะทางความสุขในปรโลกเห็นได้ด้วยยาก การต้องหย่อมให้ชนทั้งปวงแสวงหาทางความสุขในปรโลก ตามความเชื่อของตนคนถึงจะชอบ และกรุงสยามระลึกความตามที่ได้ฟังมาว่า ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา ก่อนแต่กรุงสยามบัดนี้ขึ้นไป ๑๐ แผ่นดิน นับกาลมาเกือบ ๒๐๐ ปีแล้ว ซางตูศปาปา ณ เมืองโรม ซึ่งเป็นประธานแก่โลกโรมันกาธอลิกคริสตางในเวลานั้น ได้ถวายสมณสาส์นถวายพระพรเข้ามาว่า ฝากศาสนาโรมันกาธอลิกคริสตางบรรดาอยู่ในพระราชอาณาจักรแผ่นดินสยาม สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ทรงรับพระสมณสาส์นฉบับนั้นเป็นพระเกียติยศปรากฏ อยู่ครั้งหนึ่ง เพราะฉะนั้นกรุงสยามจึงได้ถามหารือบาทหลวงยวงบาบติศบิจฉบนั้นว่า ถ้าได้ไปเฝ้าบังคมบาทท่านผู้บิดาบริสุทธิ์ให้รู้จักกรุงสยามเหมือนอย่างซาง ตูศปาปา พร้อมเวลาแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้รู้จักพระเดชพระคุณ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชในครั้งนั้น จะได้หรือมิได้ บาทหลวงยวงบาบติศบิจฉบรับว่าได้ แล้วว่าถ้ากรุงสยามจะให้รับราหัตถเลขาของกรุงสยามไปถึงท่านผู้บิดาบริสุทธิ์ ก็จะยินดีรับไปยื่นถวายท่านบิดาผู้บริสุทธิ์ได้ แต่เวลานั้นบาทหลวงยวงบาบติศบิจฉบรีบจะไปในวันนั้นไม่รอช้า เร่งกรุงสยามว่าถ้าจะให้ราชหัตถเลขาไปถวายท่านผู้บิดาผู้บริสุทธิ์แล้ว ก็ให้เขียนให้ในขณะนั้นทีเดียวจะช้าเวลาไม่ได้ เพราะฉะนั้นกรุงสยามจึงได้เขียนราชหัตถเลขาเป็นภาษาอังกฤษสำแดงความคำนับไป ยังท่านบิดาผู้บริสุทธิ์ แล้วลงตราของกรุงสยาม แล้วเข้าผนึกส่งให้ไปในขณะนั้น ครั้นล่วงไปได้ปีเศษบาทหลวงยวงบาบติศบิจฉบกลับมาถึงกรุงเทพมหานครนี้ ได้ยื่นสมณสาส์นของท่านบิดาบริสุทธิ์เป็นหนังสือคู่ เหมือน กันกับฉบับก่อนอีกครั้งหนึ่ง สมณสาส์นทั้งสองฉบับนั้นเขียนในภาษาลาตินมีคำแปลเป็นภาษา อังกฤษกำกับมาด้วยเหมือนกัน ได้อ่านทราบความแล้ว ก็มีความยินดียิ่งนัก อนึ่งบาทหลวงยวงบาบติศบิจฉบได้นำฉากกรอบไม้ปิดทองมีลายประดับด้วยกรวดแก้วสี ต่างๆ เรียบเรียงเป็นรูปตึกวัดโบราณเรียบร้อยสนิทสนมนักหนามาส่งให้กรุงสยาม แล้วก็ยืนยันความว่า ฉากนั้นท่านบิดาบริสุทธิ์ได้มอบฝากมาเป็นบรรณาการ แสดงความยินดีถึงกรุงสยามๆได้รับได้ด้วยความยินดีและความเชื่อแต่บิจฉบนั้น แล้ว ได้พิเคราะห์ฝีมือทำฉากนั้นโดยละเอียด ก็เห็นว่าเป็นของซึ่งผู้นั้นทำด้วยอุตส่าห์ความเพียงพยายามยิ่งนัก กรุงสยามได้นำเอาฉากนั้นออกให้พระราชวงศานุวงศ์และข้าราชการทั้งปวงดู ก็พร้อมกันชมว่าของนั้นเป็นของทำด้วยอุตส่าห์พยายามความยินดีความเพียงยิ่ง นักเป็นของดีจริง กรุงสยามได้ติดฉากไว้ในที่อยู่เป็นที่ผู้ไปมาได้เห็นอยู่เนืองๆ ใครเป็นคนแปลกหน้าไปมาก็ชี้ชวนให้ชมดู แล้วบอกว่าฉากนั้นเป็นเครื่องสมณบรรณาการมาท่านบิดาบริสุทธิ์ยินดีมาถึงกรุง สยาม การนั้นก็เป็นความเจริญเป็นเกียรติยศแก่กรุงสยามอยู่เนืองๆ จนกาลบัดนี้ เพราะฉะนั้นกรุงสยามขอแสดงความชื่นชมยินดีอบคุณมาถึงท่านผู้บริสุทธิ์ด้วย ความเมตตาอาริยไมตรีอันสนิทมาถึงกรุงสยามด้วยความในสมณสาส์นนั้นก็ดี ด้วยเครื่องสมณบรรณาการนั้นก็ดี ความจริงนี้จงได้ทราบแต่ญาณของท่านผู้บริสุทธิ์ เทอญ...”





ภาพพระสังฆราชปัลเลอร์กัวซ์กับฟรังซิสแก้ว เด็กชาวสยาม
(คนไว้จุก) และยอแซฟชม เด็กชาวญวน (คนโพกหัว)ซึ่งพา
ไปฝรั่งเศสด้วบกัน เมื่อพ.ศ. 2395 พิมพ์ด้วยระบบพิมพ์หิน
วาด จากรูปถ่ายระบบดาแกโรไทป์ที่ถ่ายในกรุงปารีสเมื่อ พ.ศ. 2397เก็บรักษาอยู่ที่ห้องสมุดคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส





พระ บรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งดำรงพระยศเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑามณีกรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ถ่ายด้วยระบบดาแกโรไทป์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อประมาณ พ.ศ. 2389-90 ปัจจุบันคงเหลือแต่เพียงกระจกสำเนาเก็บรักษาอยู่ในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ อนุมานว่าเป็นฝีมือการถ่ายรูปของพระสังฆราชปัลเลอร์กัวซ์ หรือบาทหลวงลาร์โนดี

     พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์เดินทางมุ่งหน้ามายังกรุงโรม ในฐานะสมณทูตของกรุงสยาม โดยนำ “ฟรังซัวส์ แก้ว” (Francoix K?o) เด็กชายชาวสยาม (Siamois) และ “ยอแซฟ ชม” (Joseph Xom) เด็กชายชาวญวน (Annammite) ติดตามไปด้วย หลังจากท่านพระสังฆราชได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปาปีอุส พระองค์ที่ ๙ เพื่อถวายพระราชสาสน์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว องค์สมเด็จพระสันตะปาปามีพระสมณสาส์นตอบกลับไปยังพระเจ้าแผ่นดินสยามเป็น ภาษาละติน ลงวันที่ ๒๐ ธันวาคม ค.ศ. ๑๘๕๒ (พ.ศ. ๒๓๙๕) โดยฝากให้พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์นำกลับไปถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์เดินทางกลับถึงกรุงปารีสใน ค.ศ. ๑๘๕๓ (พ.ศ. ๒๓๙๖) แต่เนื่องจากท่านพระสังฆราชยังคงต้องพำนักอยู่ในประเทศฝรั่งเศสต่ออีกสัก ระยะหนึ่ง จึงจัดการส่งพระสมณสาสน์ขององค์สมเด็จพระสันตะปาปามายังกรุงสยามโดยทางเรือ
     เมื่อพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ ถูกบิดามารดาและญาติสหายรบเร้าให้เล่าถึงเรื่องราวเกี่ยวกับกรุงสยามให้ฟัง อยู่หลายครั้งหลายหน ท่านพระสังฆราชจึงตัดปัญหาด้วยการอดตาหลับขับตานอนลงมือเขียนหนังสือ “เล่าเรื่องกรุงสยาม” (Description du Royaume Thai ou Siam) พรรณนาถึงเรื่องราวของประเทศสยามในแง่มุมต่างๆ ทั้งด้านภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ศาสนา ภาษา วัฒนธรรม และวิถึชีวิตของชาวสยาม ตลอดจนการเผยแผ่คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกในดินแดนตะวันออกไกล โดยพิมพ์ที่ Au Profit de la Mission de Siam ในกรุงปารีส เมื่อ ค.ศ. ๑๘๕๔ (พ.ศ. ๒๓๙๗) และรัฐบาลฝรั่งเศสได้ให้การสนับสนุนในการพิมพ์หนังสือ “สัพะพะจะนะพาสาไท” ที่โรงพิมพ์หลวงด้วยอีกเล่มหนึ่ง
     พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์เดินทางกลับมาถึงกรุงสยามใน ค.ศ. ๑๘๕๖ (พ.ศ. ๒๓๙๙) โดยนำของขวัญที่ระลึกจากสมเด็จพระสันตะปาปาปีอุส พระองค์ที่ ๙ และสมเด็จพระจักรพรรดินโปเลียน พระองค์ที่ ๓ มาน้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อยู่มาไม่นาน พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ก็ได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์ทางคริสต์ศาสนาเป็นอาชบิ ชอป (Archbishop) เจ้าคณะใหญ่ประจำประเทศสยาม



เม อซิเยอร์มูโฮต์ นักสำรวจและนักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส เดินทางเข้ามายังกรุงสยามในพ.ศ. 2401 ภาพจาก LE TOUR DU MONDE ฉบับภาษาฝรั่งเศส ตีพิมพ์เมื่อ พ.ส. 2406

แรงบันดาลใจยิ่งใหญ่ของมูโอต์     วันที่ ๒๗ เมษายน ค.ศ. ๑๘๕๘ (พ.ศ. ๒๔๐๑) เมอซิเยอร์อเล็กซองดร์ อองรี มูดอต์ (Monsieur Alexander Henri Mouhot) นักธรรมชาติวิทยาและนักสำรวจชาวฝรั่งเศส ผู้มีถิ่นพำนักอยู่ในประเ ทศอังกฤษ ได้รับทุนสนับสนุนจากราชสมาคมทางภูมิศาสตร์แห่งกรุงลอนดอน สำหรับการเดินทางสำรวจดินแดนลับแลอย่างประเทศสยาม กัมพูชา และลาว หลังจากเขาได้ใช้เวลาในการติดต่อขอทุนสนับสนุนการสำรวจมาเป็นเวลากว่า ๑ ปี
     แรงบันดาลใจอันยิ่งใหญ่ในการตัดสินใจ เดินทางมายังดินแดนห่างไกลอย่างประเทศสยาม กัมพูชา และลาวของเมอซิเยอร์มูโอต์นั้น เป็นผลมาจากการที่เขาได้อ่านหนังสือ “ราชอาณาจักรและพลเมืองแห่งสยาม” (The Kingdom and People of Siam) ของเซอร์ จอห์น เบาริ่ง (Sir John Bowring) อั ครราชทูตอังกฤษที่เดินทางเข้ามายังราชสำนักสยามในห้วง ค.ศ. ๑๘๕๕ (พ.ศ. ๒๓๙๘) ซึ่งตีพิมพ์ที่กรุงลอนดอนเมื่อ ค.ศ. ๑๘๕๗ (พ.ศ. ๒๔๐๐) รวมถึงหนังสือ “เล่าเรื่องกรุงสยาม” ของพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ด้วยอีกเล่มหนึ่ง ซึ่งสร้างความประทับใจให้แก่เมอซิเยอร์มูโอต์ อยู่มิใช่น้อยเลยทีเดียว
     เมอซิเยอร์มูโอต์ ได้หอบหิ้วกระเป๋าเดินทางพร้อมกล้องถ่ายรูปคู่ใจลงเรืองเดินทางรอนแรมมาจน ถึงท่าเรือเมืองสิงคโปร์ในวันที่ ๓ กันยายน ค.ศ. ๑๘๕๘ (พ.ศ. ๒๔๐๑) แล้วเดินทางต่อมาถึงปากน้ำบางเจ้า พระยาของกรุงสยามในวันที่ ๑๒ กันยายน ค.ศ. ๑๘๕๘ (พ.ศ. ๒๔๐๑) ซึ่งเรือได้แล่นข้ามสันดอนทรายมุ่งตรงมายังเมืองบางกอก โดยมาเทียบท่าอยู่หน้าวัดอัสสัมชัญของพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์เจ้าของผลงาน “เล่าเรื่องกรุงสยาม”
     ระหว่างที่เมอซิเยอร์มูโอต์ กำลังเตรียมตัวออกเดินทางสำรวจประเทศสยาม กัมพูชา และลาวอยู่นั้น พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ ได้ถือโอกาสนำเมอซิเยอร์มูโอต์ไปเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัวในงานพระราชทานเลี้ยงพระกระยาหารค่ำ เนื่องในพระราชวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ตามคำเชิญข องพระองค์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระดำเนินไปมารอบโต๊ะอาหาร เพื่อทรงทักทายแขกเหรื่อชาวต่างชาติอย่างเป็นกันเอง พร้อมทั้งตรัสเชื้อเชิญให้แขกผู้มีเกียรติทั้งหลายดื่มถวายพระพรชัยและรับ ประทานอาหารเลี้ยงร่วมกัน
     เมื่อเมอซิเยอร์มูโอต์กราบบังคมทูลลากลับ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานเหรียญ เงินและเหรียญทอง บรรจุอยู่ในถุงของ ขวัญใบงามที่เย็บด้วยผ้าไหมสีเขียวแก่เขา ซึ่งเมอซิเยอร์มูโอต์รู้สึกปลาบปลื้มใจเป็นอย่างมากในพระมหากรุณาธิคุณดัง กล่าว





ภาพ วาดลายเส้นชายชาวสยามนั่งตั่ง จากหนังสือเล่าเรื่องกรุงสยามของพระสังฆราชปัลเลอร์กัวซ์ อนุมานว่าวาดจากรูปถ่ายระบบดาแกโรไทป์อาจเป็นฝีมือของพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ หรือบาทหลวงลาร์โนดี เข้าใจว่ามีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับรูปถ่ายพระเจ้าน้องยาเธอกรมขุนวรจักร ธรานุภาพในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ (ภาพที่ 16)





รูปถ่ายพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ
(พระองค์เจ้าปราโมช) ประทับสั่งบนตั่ง เข้าใจว่าถ่าย
ด้วยระบบดาแกโรไทป์ อาจเป็นฝีมือของพระสังฆราช
ปัลเลอร์กัวซเอง เก็บรักษาอยู่ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ์
 

สายสัมพันธ์สยามและฝรั่งเศส     หลังจากคุณทูตฝรั่งเศสของเมอซิเยอร์ชาร์ลส์ เดอ มองติคนี (Charles de Montigny) เดินทางเข้ามาขอเจรจาทำสนธิสัญญาทางพระราชไมตรี และการค้าระหว่างรัฐบาลสยามและฝรั่งเศสเมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๘๕๖ (พ.ศ. ๒๓๙๙)
     พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของรัฐบาลฝรั่งเศสในฐานะประเทศมหาอำนาจในระดับเดียว กันกับรัฐบาลอังกฤษ กอปรกับการที่พระสังฆราช ปัลเลอกัวซ์ได้กราบบังคมทูลแนะนำพระองค์ว่า สมเด็จพระจักรพรรดินโปเลียน พระองค์ที่ ๓ ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินผู้มีพระบารมีมากล้นเช่นเดียวกับสมเด็จพระราชินีนาถ วิกตอเรีย (Queen Victoria ครองราชย์ พ.ศ. ๒๓๘๐-๒๔๔๔) แห่งสหราชอาณาจักร พระองค์ทรงมีพระราชดำริจัดส่งคณะทูตสยามเดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรียังราช สำนักฝรั่งเศส
     แต่ด้วยความที่คณะทูตสยามชุดนี้ยังไม่มีล่ามแปลภาษา เดอกัศเดลโน ผู้ว่าการแทนกงสุลฝรั่งเศสประจำกรุงเทพฯ จึงขอยืมตัวบาทหลวงลาร์โนดี จากพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ เพื่อทำหน้าที่เป็นล่ามใหญ่ติดตามไปกับคณะทูตสยามของพระยาศรีพิพัฒน์   รัตนราชโกษาธิบดี (แพ บุนนาค) ไปเยือนราชสำนักฝรั่งเศสใน ค.ศ. ๑๘๖๑ (พ.ศ. ๒๔๐๔)











พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ
ให้เป็นผู้แทนพระองค์ไปร่วมในพิธีฝังศพพระสังฆราช
ปัลเลอร์กัวซ์ ณ วัดคอนเซ็ปชัญ ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ





                            



โศกามรณาลัย     หลังจากพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์เดินทางกลับมาจากดินแดนลาวได้ไม่นาน ท่านก็ถึงแก่มรณภาพ ณ วัดอัสสัมชัญ เมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน ค.ศ. ๑๘๖๒ (พ.ศ. ๒๔๐๕) สิริอายุได้ ๕๗ ปี โดยท่านพระสังฆราชได้สั่งเสียไว้กับพวกบาทหลวงและชาวคริสตังให้นำศพของท่าน ไปฝังไว้ที่วัดคอนเซ็ปชัญ โดยพวกคริสตังเห็นว่าควรแห่ศพท่านพระสังฆราชไปทางน้ำ แต่ติดขัดตรงที่ต้องยกขบวนแห่ศพผ่านทางพระตำหนักแพตรงท่าราชวรดิฐ ซึ่งมีกฎห้ามไว้มิให้ผู้ใดนำศพผ่านบริเวณดังกล่าว
     หลังจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทราบข่าวการมรณภาพของพระสังฆ ราชปัลเลอกัวซ์ ก็ทรงรู้สึกเสียดายเป็นอย่างมากต่อการจากไปของพระอาจารย์และพระสหายต่าง ศาสนาผู้นี้ พระองค์มีพระราชประสงค์ให้จัดงานศพของท่านพระสังฆราชอย่างสมเกียรติที่สุด จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานจัดหีบศพทองทึบของหลวงสำหรับบรรจุศพพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ และพระราชทานกลองชนะ จ่าปี่จ่ากลอง เครื่องประโคมศพ เรือศพ และเรือขบวนแห่งของหลวงเป็นกรณีพิเศษ พร้อมทั้งพระราชทานพระบรมราชนุญาตให้ขบวนเรือแห่ศพของท่านพระสังฆราช ล่องผ่านพระตำหนักแพได้ตามความปรารถนาของพวกคริสตังด้วย
     พวกคริสตังได้เชิญหีบศพพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ ขึ้นวอมาลงเรือแห่ศพหลวง แล้วจัด เป็นบวนเรือแห่มาทางน้ำ เพื่อไปทำพิธีฝังยังวัดคอนเซ็ปชัญ พอขบวนเรือแห่ศพล่องมาถึงหน้าพระตำหนักแพ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งประทับอยู่ในเรือกลไฟพระที่นั่งมี รับ สั่งให้ลดธงมหาราชลงครึ่งเสา แล้วโปรดเกล้าฯให้กระบวนเรือแห่ศพแวะเข้าถวายลำให้ทอดพระเนตร พระองค์ทรงเปิดพระมาลาน้อมพระเศียรลงคำนับศพและทรงยืนสงบนิ่งไว้อาลัยในการ จากไปของพระสหายต่างศาสนาผู้นี้ พระองค์ทรงประพรมน้ำมนต์ แล้วโปรดเกล้าฯพระราชทานรูปเทียนขี้ผึ้ง เครื่องขมาศพ และเงิน ๒๐๐ เฟื้อง เพื่อเป็นเกียรติยศแก่ศพท่านพระสังฆราชเทียมเท่ากับศพขุนนางชั้นผู้ใหญ่เป็น การส่วนพระองค์ พร้อมทั้งพระราชทานเงินสำหรับแจกจ่ายแก่บรรดาผู้คนที่มาร่วมในขบวนแห่แทน เจ้าภาพด้วย ขณะเดียวกันพระองค์ก็มีรับสั่งให้เรือหลวงทุกลำที่จอดทอดทุ่นอยู่ในแม่น้ำ และป้อมตามชานพระนคร ลดธงลงครึ่งเสาและให้ปืนใหญ่ยิงสลุต ๕ นัด เพื่อแสดงความเคารพศพท่านพระสังฆราช

   ขบวนเรือแห่ศพได้เคลื่อนตัวออกจากที่เฝ้าแล่นตรงไปยังวัดคอนเซ็ปชัญ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส (พระองค์เจ้านพวงศ์) เชิญเครื่องขมาศพเสด็จแทนพระองค์ไปร่วมในพิธีฝังศพจนกระทั่งเสร็จสิ้น พิธีการซึ่งนับว่าเป็นเกียรติยศสูงสุดสำหรับชาวต่างชาติ ศพของพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ถูกนำมาบรรจุไว้ในกำแพงโบสถ์ด้านทิศเหนือของพระ แท่น โดยมีคำจารึกบอกเล่าประวัติของท่านพระสังฆราชไว้บนหินอ่อนด้วยภาษาละตินวัน รุ่งขึ้นคณะมิสซังฝรั่งเศสได้นำจดหมายแสดงความขอบพระทัยในพระมหากรุณาธิคุณ มาถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมทั้งทูลเกล้าฯ ถวายแหวนตำแหน่งยศของพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์สำหรับเป็นที่ระลึกพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประทับพระราชหฤทัยในความกตัญญุตาและมีสัมมาคารวะ ของพวกบาทหลวงคาทอลิก จึงมีพระราชหัตถเลขาตอบรับแหวน ลงวันที่ ๙ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๘๖๒ (พ.ศ. ๒๔๐๕) ความตอนหนึ่งกล่าวถึงสัมพันธภาพครั้งเก่าก่อนระหว่างพระองค์กับพระสังฆราช ปัลเลอกัวซ์ว่า      “ท่านที่เคารพ เราขอตอบรับหนังสือที่ท่านส่งถึงเราเมื่อวานนี้ เพื่อขอบใจในการที่เราได้มีส่วนช่วยเหลือการปลงศพพระสังฆราชที่เคารพยิ่ง ซึ่งเป็นมิตรที่ดีสนิทสนมและจริงใจของเราเป็นเวลายี่สิบแปดปี...”     พระ สังฆราชปัลเลอกัวซ์  ถือเป็นชาวต่างชาติผู้มีส่วนสำคัญในการนำเอาวิทยาการสมัยใหม่ของชาติตะวันตก เข้าเผยแพร่ในหมู่ชาวสยาม ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนาประเทศให้เจริญรุดหน้าทัดเทียมนานาอารย ประเทศ อันเป็นช่วงเวลาที่ชาติมหาอำนาจตะวันตกต่างทอดสายตามายังบรรดาประเทศล้าหลัง ในภูมิภาคตะวันตกไกล ในฐานะ “ลูกแกะน้อย” (รัฐอาณานิคม) เหยื่ออันโอชะของ “สุนัขป่า” (จักรวรรดินิยมตะวันตก” ผู้มากไปด้วยเล่ห์กล


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น