จอมพล ป.พิบูลสงคราม

จอมพล ป.พิบูลสงคราม

ประวัติส่วนตัวชื่อเดิม แปลก   ขีดตะสังคะ
เกิดเมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๔๔๐
ณ บ้านแพ ปากคลองบางเขน อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
เป็นบุตรนายขีด  กับนางสำอาง  ขีดตะสังคะ
สมรสกับท่านผู้หญิงละเอียด (พันธุ์กระวี)
ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคหัวใจวาย ณ บ้านพักที่ตำบลซากามิโอโน ซานกรุงโตเกียว เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๐๗ รวมอายุได้ ๖๗ ปี

ประวัติการศึกษา
โรงเรียนกลาโหมอุทิศ วัดเขมาภิรตาราม จังหวัดนนทบุรี
โรงเรียนนายร้อยทหารบก
โรงเรียนเสนาธิการ
โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ประเทศฝรั่งเศส  
พ.ศ.๒๔๖๒ ประจำกรมทหารบกปืนใหญ่ที่ ๑ รักษาพระองค์



ประวัติการทำงาน
พ.ศ.๒๔๖๖ประจำกรมยุทธศาสตร์ทหารบก
พ.ศ.๒๔๗๕รองผู้บังคับการทหารปืนใหญ่
พ.ศ.๒๔๗๖ รองผู้บัญชาการทหารบก และรองผู้บังคับการมณฑลทหารราบที่ ๑
พ.ศ.๒๔๘๓ ผู้บัญชาการทหารบก
พ.ศ.๒๔๘๓ ผู้บัญชาการหารสูงสุดและแม่ทัพบก
พ.ศ.๒๔๙๐ ผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทย

บทบาททางการเมือง
พ.ศ. ๒๔๗๖ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภท ๒
พ.ศ. ๒๔๗๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
พ.ศ. ๒๔๘๑ นายกรัฐมนตรีสมัยที่ ๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
พ.ศ. ๒๔๘๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
พ.ศ. ๒๔๘๔ ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกในประเทศไทย จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ให้ญี่ปุ่นเดินทัพผ่านไทย และในที่สุดได้ทำสัญญาพันธมิตรทางการทหารและเศรษฐกิจกับญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผลให้ภายหลังเมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ เสร็จสิ้นลง จอมพลแปลก พิบูลสงคราม จึงต้องตกเป็นผู้ต้องหาอาชญากรสงคราม และถูกจับกุมขังเป็นเวลาหลายเดือน
พ.ศ. ๒๔๘๕ นายกรัฐมนตรีสมัยที่ ๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
พ.ศ .๒๔๙๑ นายกรัฐมนตรีสมัยที่ ๓ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
พ.ศ. ๒๔๙๒นายกรัฐมนตรีสมัยที่ ๔ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
พ.ศ. ๒๔๙๔ นายกรัฐมนตรีสมัยที่ ๕
พ.ศ.  ๒๔๙๔นายกรัฐมนตรีสมัยที่ ๖
พ.ศ. ๒๔๙๕ นายกรัฐมนตรีสมัยที่ ๗ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
พ.ศ. ๒๔๙๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ
พ.ศ. ๒๔๙๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
พ.ศ. ๒๕๐๐ นายกรัฐมนตรีสมัยที่ ๘

อนุสาวรีย์จอมพล ป. พิบูลสงคราม
         ในปีพ.ศ. ๒๕๓๒ นายกสมาคมศิษย์เก่าพลเอกยุทธนา  คำดี คณะกรรมการศิษย์เก่าและโรงเรียนวัดเขมาภิรตารามมีมติสร้างอนุสาวรีย์  ฯพณฯ จอมพลป.พิบูลสงครามที่โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม บริเวณหน้าอาคาร ๑  โดยให้กองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร เป็นผู้หล่อรูปเหมือน เสร็จแล้วทำพิธีเชิญรูปเหมือนมาที่โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม  
ในวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๓๒ ได้ทำพิธีบังสุกุล และบรรจุอัฐิในแท่นฐาน เวลาประมาณ ๑๐.๓๐ น. ได้เชิญรูปเหมือนขึ้นตั้งบนแท่นฐานอนุสาวรีย์
      ต่อมาวันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันเกิดของฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม สมาคมศิษย์เก่าและโรงเรียนวัดเขมาภิรตารามได้ร่วมกันทำพิธีบวงสรวงและพิธีเปิดอนุสาวรีย์ โดยเชิญพลเอกเทียนชัย  ศิริสัมพันธ์เป็นประธานในพิธี จากนั้นสมาคมศิษย์เก่า
 เขมาภิรตารามจึงได้กำหนดให้วันที่ ๑๔ กรกฎาคม ของทุกปีเป็นวันทีระลึกจอมพล ป. พิบูลสงครามดังนั้นในวันนี้สมาคมศิษย์ครูอาจารย์ และนักเรียนปัจุบันร่วมกัยจัดพิธีบังสุกุล วางพวงมาลา พานพุ่ม และมอบทุนการศึกษาแก่นักเรียนเป็นประจำทุกปี

ผลงานที่สำคัญ
        นโยบายสร้างชาติและการปลูกฝังความรู้สึกชาตินิยมให้แก่ประชาชนอย่างมากมาย เช่น การเปลี่ยนชื่อประเทศสยามมาเป็นประเทศไทย การเรียกร้องดินแดนทางด้านอินโดจีนคืนจากฝรั่งเศส การปลูกฝังความนิยมไทย และการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไทยบางอย่าง เช่น การให้สตรีเลิกนุ่งโจงกระเบนแล้วหันมาสวมกระโปรงแทนการให้ประชาชนเลิกกินหมากพลู การตั้งชื่อผู้ชายให้มีลักษณะเข้มแข็ง ผู้หญิงให้แสดงถึงความอ่อนหวาน
        การส่งเสริมการศึกษาวิชาการแก่ประชาชน โดยเฉพาะได้จัดตั้งมหาวิทยาลัยเฉพาะวิชา เช่น มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ (มหิดล) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นต้น